1. จัดระเบียบพื้นที่สมองของตัวเองก่อน
ต้องมั่นใจว่าเราไม่มีสิ่งอะไรมารบกวนความคิดของเรา ซึ่งมันจะช่วยทำให้เราโฟกัสกับสิ่งที่เรากำลังจะเรียนได้ดีถ้าเราไม่สามารถโฟกัสได้นั่นก็เป็นเพราะว่าเรามีสิ่งรบกวนไม่ว่าจะเป็นเรื่องใดๆก็ตามที่อยู่ในหัว ดังนั้นเราควรจัดระเบียบให้ดีเสียก่อนก่อนที่จะเริ่มเรียน
2. การเห็นข้อมูลเป็นภาพ
เวลาที่เรากำลังคิดหรือวิเคราะห์สิ่งใดก็ตามพยายามคิดออกมาให้มันออกมาเป็นภาพ เรากำลังพูดถึงหัวข้อที่หนึ่งซึ่งเกี่ยวกับการกินอาหารเพื่อรักษาสุขภาพ ลองนึกภาพออกมาจินตนาการออกมาว่าการกินอาหารเพื่อรักษาสุขภาพมีประโยชน์อะไรบ้างโดยการโยงข้อมูลออกมาเป็นข้อมูลที่ 1 โยงข้อมูลออกมาเป็นข้อมูลที่ 2 และอันสุดท้ายเป็นสิ่งนี้นะ การคิดข้อมูลให้ออกมาเป็นภาพแบบนี้จะช่วยทำให้เราเห็นภาพได้ชัดเจนมากขึ้นแต่เราก็ต้องใช้จินตนาการพอสมควร
3. ใช้ ACRONYMS และ MNEMONICS
หลายคนอาจจะงงว่ามันคืออะไร ซึ่งเทคนิคนี้คือการจำแบบการจำมาจากคำศัพท์ที่ใกล้เคียงกัน คำว่าเอาและคำว่าต้องการ อาจจะมีความหมายเหมือนกันแต่บริบทในการใช้แตกต่างกัน คำแบบนี้เราเรียกว่าคำใกล้เคียง เราควรจำมาจากสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่ใกล้เคียงกัน เทคนิคนี้จะทำให้เราได้คำศัพท์และได้สิ่งใหม่ๆที่หลากหลาย และยังสามารถทำให้เราจำกัดประเภทของสิ่งนั้นได้เพราะว่าเราจำมันมาจากสิ่งที่ใกล้เคียงกัน
4. ฉันจำโดยใช้ชื่อและภาพ
พยายามจำโดยภาพมาเกี่ยวข้อง...