บทนี้ เรามาคุยกันถึงเรื่องของ V ช่วยอีกกลุ่มหนึ่งกันบ้าง ซึ่งก็คือ V. to do นั่นเอง
V. to do จะมี 2 ตัวหลักๆ คือ do กับ does (รวมถึงคำว่า did กับ done ด้วย แต่เราจะไปเรียนรู้กันในบทความอื่นครับ)
โดย He, She, It และคำนามเอกพจน์ จะใช้คู่กับ does
ส่วน They, You, We รวมถึง I และคำนามพหูพจน์ จะใช้คู่กับ do
ทั้งนี้ หากจะทำ V. to do ให้เป็นรูปปฏิเสธ ก็เติม not ต่อท้ายได้เหมือนกับ V. to be
…ต่างกันตรงที่ ในประโยคบอกเล่านั้น เราสามารถใส่ do หรือ does ไว้ร่วมกับ V แท้ เพื่อเอาไว้เน้นคำที่เป็น V แท้ก็ได้ เช่น
1. หากจะพูดหรือเขียนว่า “หล่อนชอบเรียนรู้”
ก็สามารถพูดหรือเขียนได้ว่า “She likes to learn.” หรือ “She does like to learn.” ซึ่งถือว่าถูกต้องทั้งสองประโยค
ในกรณีข้างต้น เราใช้ does เพื่อเน้นย้ำ V แท้ (like) ในประโยค และลองย้อนกลับไปดู จะสังเกตุเห็นว่า ในเมื่อ does มี ‘s’ อยุ่แล้ว ก็ต้องตัด ‘s’ ในคำที่เป็น V แท้ออกไป
ที่สำคัญ ครูยกตัวอย่างการใส่ V. to do เข้าไปในประโยคดังกล่าวเพื่อให้น้องๆเข้าใจวิธีใช้งานมันในประโยคบอกเล่า ได้ชัดเจนยิ่งขึ้น เพราะส่วนใหญ่แล้ว V. to do จะใช้ในประโยคถาม-ตอบ
ตัวอย่างเช่น
Does she like me? หล่อนชอบฉันมั้ย?
No, she does not – ไม่ หล่อนไม่ชอบ หรือ
Yes, she does – ใช่ หล่อนชอบ
2. หากจะพูดหรือเขียนในรูปพหูพจน์ เช่น “พวกเขาชอบนักกีฬา”
ก็สามารถพูดหรือเขียนได้ว่า “They do like this movie.” และ “They like this movie.” ซึ่งถือว่าถูกต้องทั้งสองประโยค
หากเป็นประโยคถาม-ตอบ ก็อย่างเช่น
Do they like you? พวกเขาชอบคุณมั้ย?
Yes, they do – ใช่ พวกเขาชอบ หรือ
No, they do not – ไม่ พวกเขาไม่ชอบ
I do not know – ฉันไม่รู้ หรือ
I do know, but I do not care – ฉันรู้ แต่ฉันไม่แคร์
…หรือจะใช้ Do เป็นประโยคคำสั่งก็ได้นะ เช่น
“Do as I say! ทำตามที่ชั้นบอก!” หรือ
“Don’t walk around here! อย่ามาเดินเพ่นพ่านแถวนี้!”
*สำหรับใครที่กำลังมองหาคอร์สเรียนออนไลน์ สามารถกดปุ่ม inbox มุมขวาล่าง ทักสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้เลยนะครับ*
คำถามทดสอบ:
1) เติมคำในช่องว่าง
He _______ to watch TV.
a. want
b. wants
c. does want
d. ถูกทั้งข้อ b. และ c.
2) เติมคำในช่องว่าง
She _______ to sing.
a. likes
b. like
c. does likes
d. ถูกทั้งข้อ a. และ c.
3) เติมคำในช่องว่าง
They _______ eat the meat.
a. do
b. do not
c. don’t
d. ถูกทุกข้อ
เฉลย
1. (ข้อ d.) เพราะนอกจาก V แท้แล้ว เรายังสามารถใช้ V. to do มาวางไว้หน้า V แท้เพื่อเน้นย้ำได้ ซึ่งจะทำให้มีความหมายประมาณว่า “เขาต้องการดูทีวีจริงๆนะ”
2. (ข้อ a.) เพราะประธานเอกพจน์บุรุษที่ 3 กริยาต้องเติม s ซึ่งข้อ b. ไม่ได้เติม ส่วนข้อ c. ก็ผิด เพราะหากใช้ does เพิ่อเน้นคำที่เป็น V แท้ (like) แล้ว ต้องตัด s ออกจาก V แท้ด้วยนะคร๊าบ
3. (ข้อ d.) เพราะไม่ว่าจะเติมคำไหนเข้าไป ก็ถือว่าประโยคสมบูรณ์แบบ และได้ใจความทั้งสิ้นครับ