“ฟื้ดดดดดด……ช่วยด้วย!” ครูร้องตะโกนขอยาดม หลังจากรู้ว่า จะต้องพูดถึงเรื่องของกริยาหรือ V ช่วย เพราะมันเป็นเรื่องที่เนื้อหากว้างไกลมาก อย่างไรก็ตาม ครูจะพยายามคัดเอาใจความเนื้อๆ มาถ่ายทอดให้พี่ๆน้องๆได้เข้าใจกันง่ายและลัดสั้นที่สุด
อย่างที่เคยบอกครับว่า นโยบายของทีมงานเรา คือ
“เน้นให้ผู้เรียนสามารถนำภาษาอังกฤษไปใช้ในเชิงปฏิบัติ โดยไม่ตัดทิ้งเรื่องทฤษฎี (เอาแค่เฉพาะส่วนที่จำเป็น)”
.
.
.
.
เวิร์บช่วย
ในประโยคภาษาอังกฤษนั้น นอกจาก V. แท้ที่เราได้พูดถึงกันไปในบทก่อนๆแล้ว ก็ยังมีผู้ช่วยอีก 3 วี ที่สนิทกัน (ยกเว้นบ่าววี) ไว้คอยทำหน้าที่แทน เวลาที่ V แท้ไม่อยู่
นั่นคือ V. to be (เวิร์บทูบี)
V. to do (เวิร์บทูดู) และ
V. to have (เวิร์บทูแฮฟ)
V. to be ที่เด่นๆ ก็อย่างเช่นคำว่า is, am, are
(โดย are ใช้กับนามพหูพจน์ ส่วน am ใช้กับ I เท่านั้น)
V. to do ที่เด่นๆ ก็อย่างเช่นคำว่า does, do
(โดย do ใช้กับนามพหูพจน์)
V. to have ที่เด่นๆ ก็อย่างเช่นคำว่า has, have
(โดย have ใช้กับนามพหูพจน์)
……แล้วเราจำเป็นจะต้องเอา 3 ผู้ช่วยเหล่านั้น มาใช้งานในสถานการณ์ใดล่ะ?
แน่นอนว่า ต้องเอามาใช้เมื่อเจ้าถิ่นอย่าง V แท้ ไม่สามารถมาปฏิบัติหน้าที่ได้ และที่สำคัญ ต้องเลือกมาใช้ทีละตัวเท่านั้น
ห้ามใช้ V ช่วยพร้อมๆกันหลายตัวในประโยคเดียวกัน
ถ้าเราจะดูว่า ในแต่ละประโยค ต้องใช้ V. to be, V. to do หรือ V. to have เราก็ดูจากความหมายและคุณลักษณะของมันแบบตรงตัวได้เลย
…และนี่ก็เป็นอีกครั้งหนึ่ง ที่การจำคำศัพท์ที่ผ่านตาบ่อยๆ ให้ได้มากที่สุด เป็นกุญแจสำคัญในการเรียนรู้ ทำข้อสอบ และการนำภาษาอังกฤษไปใช้ได้อย่างถูกต้อง
.
.
.
.
กรณี V. to be หากเป็นรูปปฏิเสธ ก็เติม not เข้าไปเป็น is not, am not, are not เอาไว้ทำหน้าที่ตรงกับคำแปลของมันเลย
ตัวอย่าง ในแต่ละกรณี:
1. ถ้าจะพูดหรือเขียนว่า “ฉันอยู่บนเครื่องบิน”
คำว่า ‘อยู่’ ที่พี่ทำตัวหนาเอาไว้ ก็ตรงกับคำว่า is, am, are ซึ่งแปลว่า เป็น, อยู่, คือ นั่นเอง
ดังนั้น เราก็พูดหรือเขียนออกมาได้ว่า “I am on the plane”
2. ถ้าจะพูดหรือเขียนว่า “หล่อนเป็นนักศึกษา” และ “พิชัยเป็นนักศึกษา”
คำว่า ‘เป็น’ ที่พี่ทำตัวหนาเอาไว้ ก็ตรงกับคำว่า is, am, are ซึ่งแปลว่า เป็น, อยู่, คือ นั่นเอง
ดังนั้น ก็พูดหรือเขียนได้เลยว่า “She is a student.” และ “Pichai is a student.”
(He, She, It ก็เป็นสรรพนามที่ใช้กับ is เช่นกัน)
3. ถ้าจะพูดหรือเขียนว่า “พวกเขา คือ นักกีฬา” และ “ทอมกับเจอรี่ คือ สัตว์”
คำว่า ‘คือ’ ที่พี่ทำตัวหนาเอาไว้ ก็ตรงกับคำว่า is, am, are ซึ่งแปลว่า เป็น, อยู่, คือ นั่นเอง
ดังนั้น ก็พูดหรือเขียนได้ว่า “They are the athletes.” และ “Tom and Jerry are animals.”
(They, You, We เป็นสรรพนามพหูพจน์ จึงต้องก็ใช้คู่กับ are)
Tips1:
อาจารย์ที่ออกข้อสอบบางข้อ ชอบสับขาหลอกน้องๆ คือแกล้งขึ้นต้นประโยคด้วยคำที่มี s ต่อท้าย ด้วยคาดหวังให้น้องๆหลงคิดว่ามันเป็นนามพูหพจน์ แต่จริงๆมันเป็นแค่นามเฉพาะ ซึ่งที่จริงเป็นเอกพจน์
ตัวอย่างเช่น
Mathematics_______ not my favorite subject.
หรืออย่าง Charles_______my brother.
ในกรณี 2 ข้อข้างต้น ต้องเติม V. to be ‘is’ ไม่ใช่ ‘are’ เนื่องจาก Mathematics หมายถึงวิชาคณิตศาสตร์ ซึ่งเป็นเอกพจน์ ส่วนอีกข้อ Charles ก็เป็นชื่อคนที่มี s ต่อท้ายเท่านั้นเอง จึงเป็นเอกพจน์ ไม่ใช่พหูพจน์
Mathematics is not my favorite subject. คณิตศาสตร์ไม่ใช่วิชาโปรดของฉัน
Charles _is__ my elder brother. ชาร์ลส์เป็นพี่ชายของฉัน
Tips
ไม่ว่าจะเป็น V. to be/ do/ have ในรูปปฏิเสธนั้น เราสามารถพูดหรือเขียนย่อให้สั้นๆ โดยใช้เครื่องหมาย ‘ ได้
เช่น
is not = isn’t am not = ain’t are not = aren’t
has not = hasn’t have not = haven’t
do not = don’t does not = doesn’t เป็นต้น
ปล. ในภาษาพูด (แบบไม่เป็นทางการ) เราสามารถใช้คำว่า ‘ain’t’ แทนได้ทั้ง is not, am not และ are not เลยนะคร๊าบ
*สำหรับใครที่กำลังมองหาคอร์สเรียนออนไลน์ สามารถกดปุ่ม inbox มุมขวาล่าง ทักสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้เลยนะครับ*
คำถามทดสอบ:
1) เติมคำในช่องว่าง
Those birds ________ chirping.
a. is
b. am
c. are
d. Is not
2) เติมคำในช่องว่าง
This _______ my book.
a. is
b. am
c. is not
d. ถูกทั้งข้อ a. และ c.
3) เติมคำในช่องว่าง
This news _________ spreading widely.
a. are
b. are not
c. is
d. ถูกทั้งข้อ a. และ b.
เฉลย
1. (ข้อ c.) เพราะเมื่อประธานเป็นพหูพจน์ V ช่วยก็ต้องอยู่ในรูปพหูพจน์เหมือนกันครับ
2. (ข้อ d.) เพราะประธานอยู่ในรูปเอกพจน์ V ช่วย ก็ต้องอยู่ในรูปเอกพจน์เช่นกัน และจะทำเป็นประโยคบอกเล่าหรือประโยคปฏิเสธก็ได้
3. (ข้อ c.) เพราะ News ในที่นี้ แปลว่า ‘ข่าว’ ไม่ได้เป็นนามพหูพจน์ ข้อสอบมันแกล้งหลอกให้น้องๆงง…คริ คริ (สังเกตุจากคำว่า This ก็ได้ครับว่า ประธานเป็นเอกพจน์)