เทคนิค! การฝึกจดบันทึกเป็นภาษาอังกฤษ

5572

ว่าด้วยเรื่องการจดบันทึกด้วยภาษาอังกฤษ ช่วงอยู่บ้านเพื่อนๆ หลายคนอาจจะมีการเรียนคอรส์ออนไลน์ หรือบางคนก็มีการทำงานที่บ้าน วันนี้จึงเอาข้อมูลดีๆในการจดบันทึกมาแนะนำกัน

บทเรียนใหม่ๆ ส่งตรงทุกวันฟรี พร้อม eBook สุดพิเศษจาก Engnow สมัครสมาชิกเว็บไซต์ที่นี่เลยฟรี >> คลิก

.

ปกติเราใช้ ‘take notes’ ในการพูดถึงการที่เราเขียนขณะที่บางสิ่งบางอย่าง เช่น lecture หรือ event กำลังเกิดขึ้น ดังนั้นเราจึงพูดได้ว่า “I took notes while he was speaking so I could look at them later.”

‘Make notes’ นั้นปกติเราใช้ในการพูดถึงการที่เราเขียนข้อมูลต่างๆ อย่างคร่าวๆ เพื่อเรียบเรียงความคิดของเราซึ่งได้จากเอกสารอ้างอิงต่างๆ หรือสิ่งที่เราคิดขึ้นเอง เช่น “I made notes about the information in my course book so I could write an essay.”

วันนี้เราจะพูดถึงเรื่อง ‘taking notes’ คำว่า Taking notes เป็นสิ่งที่เฉพาะตัวและแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล แต่ก็มีเทคนิคบางอย่างที่สามารถนำไปใช้ได้ทุกคน ไม่จำเป็นที่เราจะต้องเขียนทุกอย่างที่ผู้พูดกำลังพูดออกมา บางคนสามารถพิมพ์ได้เร็วมากแต่ถึงกระนั้นพวกเขาก็อาจไม่ได้ฟังอย่างเต็มที่เพราะมัวแต่จดจ่ออยู่กับการพิมพ์

สิ่งแรกที่ต้องคำนึงถึงใน taking notes ก็คือการกำหนดผัง จงทำให้แน่ใจว่าคุณเหลือพื้นที่ว่างๆ ไว้มากพอเพื่อ note เพิ่มเติมในภายหลัง ทั้งนี้คุณสามารถเหลือพื้นที่ว่างระหว่างบรรทัดที่คุณเขียนหรือแบ่งหน้ากระดาษออกเป็น 2 คอลัมน์แล้วเขียนเพียงด้านเดียว

พยายามไปถึงสถานที่จัดงานก่อนงานเริ่มเพื่อคุณจะได้เลือกที่นั่งที่คุณสามารถได้ยินชัดเจน คุณคงไม่สามารถ take note ได้ถ้าคุณไม่ได้ยินว่าคนพูดพูดว่าอะไร

จากนั้นให้คิดถึงสิ่งที่คุณจะเขียนลงไป โดยเขียนลงไปเฉพาะคำที่สำคัญๆ ได้แก่ วัน เวลา ชื่อ และ keyword ที่ใช้อธิบายถึงความรู้สึกหรือการกระทำ ทั้งนี้ให้ละคำพวก I/you/he/she รวมทั้ง preposition ทั้งหลาย คุณสามารถที่จะวาดภาพ เขียนลูกศรหรือแผนผังก็ได้ ถ้าการทำแบบนั้นจะเร็วกว่าการเขียนคำ

เพื่อนๆ สามารถใช้หัวข้อใหญ่และหัวข้อย่อยเพื่อจัดเรียงข้อมูลซึ่งจะช่วยในการค้นหาข้อมูลเหล่านี้ในภายหลัง โดยอาจใช้การขีดเส้นใต้หรือการตีกรอบหรือสัญลักษณ์ต่างๆ เพื่อเชื่อมโยงข้อมูลที่อยู่ในใจคุณกับที่อยู่บนหน้ากระดาษ

พยายามใช้อักษรย่อให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ คำบางคำหรือบางวลีที่พบบ่อยมีอักษรย่อที่เป็นมาตรฐานอยู่แล้ว เช่น ‘eg.’, ‘tbc’, ‘ie.’ นอกจากนี้คุณยังสามารถกำหนดอักษรย่อขึ้นใช้เองได้ด้วย ลองคิดถึงคำที่ใช้กันมากเกี่ยวกับเรื่องที่คุณกำลังจะ take notes แล้วกำหนดอักษรย่อขึ้นมา แต่ต้องแน่ใจว่าคุณจะจำมันได้ในภายหลังด้วยนะ!

การตามเรื่องให้ทันนั้นสำคัญยิ่งกว่าการเขียนของคุณซะอีก เพราะฉะนั้นจงพยายามจดจ่ออยู่ที่ผู้พูดให้มากกว่าที่ notes ของคุณ กรณีที่เขียนไม่ทัน ให้เขียน key word ไว้สักหนึ่งคำแล้วหันมาจดจ่ออยู่กับสิ่งที่ผู้พูดกำลังพูดต่อไป

ทบทวน notes ของคุณทันทีที่ event จบลง มันไม่มีประโยชน์อะไรเลยถ้าคุณ take notes แล้วไม่ได้ทำอะไรกับมัน จงทบทวน notes หลัง event ผ่านพ้นไปและเพิ่มเติมรายละเอียดต่างๆ ที่ตกหล่นไป

ลองทำตามคำแนะนำเหล่านี้แล้วหาสไตล์ใน taking notes ที่เหมาะสมกับเพื่อนๆ ดูนะ การมีระบบที่ใช้งานได้จริงเป็นสิ่งที่สำคัญยิ่งและเป็นสิ่งเฉพาะตัวของแต่ละบุคคล ลอกเลียนแบบกันไม่ได้นะ

Share
.