เรื่องของประโยค passive voice ของ modal verb

3982

ก่อนอื่นต้องเข้าใจก่อนว่าประโยคในภาษาอังกฤษจะแบ่งออกเป็น active voice (ประโยคที่ประธานเป็นผู้กระทำ)  และประโยค passive voice ซึ่งก็คือประโยคที่ต้องการเน้นประธานว่าเป็นผู้ถูกกระทำ โดยอาจจะใส่ผู้กระทำก็ได้หรือไม่ใส่ผู้กระทำเนื่องจากเป็นที่เข้าใจโดยทั่วไปว่าใครทำหรือไม่รู้แน่ว่าใครทำ

ในบางครั้งประโยค passive voice สร้างปัญหาให้กับเราๆ อย่างมากเพราะโครงสร้างประโยคภาษาไทยไม่มีแบบ passive voice นั่นเอง 

.

ดังนั้นเวลาใช้จึงต้องแยกแยะให้ออกว่าประโยคแบบไหนของไทยที่จะต้องเขียนเป็นแบบ passive voice ในภาษาอังกฤษ

ประโยค passive voice  จะมีโครงสร้างที่ผันไปตาม tense ทุก tense โดยโครงสร้างหลักของ passive voice คือ

Verb to be + V.3 (past participle)

แต่ในที่นี้จะพูดถึง  passive voice ในประโยคที่มี  modal verb (will, would, can, could, shall, should, must, etc.)  โครงสร้าง passive voice ของ modal verb ก็ง่ายแสนง่ายค่ะ ตามนี้เลย

                    Subject + modal verb + be + V.3

ตัวอย่างประโยค

My house should be renovated soon. It’s all run down. บ้านฉันควรจะได้รับการปรับปรุงใหม่ในเร็วๆนี้ มันทรุดโทรมหมดแล้ว

The car can’t be repaired. รถคันนี้ซ่อมไม่ได้แล้ว

Our flight will be cancelled because of the bad weather. เที่ยวบินของพวกเราจะถูกยกเลิกเพราะสภาพอากาศไม่ดี

ในอีกกรณีหนึ่งของ passive voice ที่อาจจะเจอก็คือ การใช้ to infinitive ในกรณีนี้ก็จะเป็น 

to be + V.3 (past participle)  เช่น

I’m expecting to be given a pay rise next month. ฉันหวังว่าจะได้ขึ้นเงินเดือนในเดือนหน้า

She’s hoping to be elected president. เธอหวังว่าจะได้รับเลือกเป็นประธานาธิบดี

passive voice อาจจะอยู่ในรูปของ Gerund(Ving) ก็ได้ เช่น

The little boy was very naughty in spite of being punished nearly every day. เด็กคนนั้นซนมากๆ ทั้งๆที่โดนทำโทษเกือบทุกวัน

She has avoided being met you so far. เธอหลีกเลี่ยงที่จะเจอคุณมาตลอด

Passive voice สามารถผันได้กับประโยคทุกรูปแบบเลย ประเด็นสำคัญคือต้องมองโครงสร้างหลักของ passive voice ให้ออก คือ Verb to be + V.3


อ่านต่อ “เรียนรู้การใช้ if clause (Conditional Sentences) แบบจำได้ขึ้นใจ”

อ่านต่อ “ประโยคคำถามประจำวันที่ขึ้นต้นด้วย ARE”

อ่านต่อ “ความแตกต่างระหว่าง MUST และ HAVE TO”

Share
.