ทำไมคนไทยเรียก BLUEPRINT ว่าพิมพ์เขียว

15115

เคยสงสัยกันไหมคะว่า Blueprint ที่แปลว่า แบบแปลนบ้าน เนี่ยทำไม๊ทำไมคนไทยเราถึงเรียกว่า “พิมพ์เขียว” แทนที่จะเรียกว่า “พิมพ์ฟ้า” ให้ตรงตัวตามชื่อภาษาอังกฤษ 

และเพื่อนๆเคยสงสัยกันไหม ว่าทำไมเวลาคุณยายให้เราไปหยิบกะละมังหรือตะกร้าสีเขียว มันถึงไม่เคยมีสีเขียวเลย มีแต่สีฟ้า! แล้วก็เถียงกันทุกครั้งว่าอันนี้มันเรียกว่าสีฟ้าไม่ใช่สีเขียว คุณยายๆก็จะเถียงกลับมาว่าอันนี้มันสีเขียวค่ะลูก ไม่ใช่สีฟ้า! เอ๋าแล้วถ้าสีเขียวคือสีฟ้า แล้วสีฟ้าคือสีอะไรอ่าาา 

.

มาถึงตรงนี้เพื่อนๆคงจะคิดว่า แล้วทั้ง 2 ประเด็นนี้มันเกี่ยวข้องกันยังไง? 

เกี่ยวข้องกันแน่นอนค่ะ เพราะว่ามันคือเหตุผลที่ว่าทำไมคนสมัยก่อนถึงเรียก Blueprint ว่า “พิมพ์เขียว” นั่นเอง

เนื่องจากว่า สมัยก่อน คนเราไม่ได้มีชื่อเรียกเฉดสีที่หลากหลายเท่าปัจจุบัน และสีฟ้าก็นับเป็นชื่อสีท้ายๆที่ปรากฎขึ้นมา แตกต่างจากชื่อเรียกสีขาวดำ ที่อ้างอิงจากกลางวันกลางคืน และสีแดง เหลือง เขียว ที่พบได้จากเลือด พืช และสัตว์ ทำให้เมื่อเราเห็นสีฟ้าที่ซึ่งถูกจัดอยู่ในโทนเดียวๆกัน หรือใกล้เคียงกันกับสีเขียว เราจึงเรียกแบบเหมาๆไปว่า มันคือสีเขียว ถ้าถามว่าสมัยนี้เราเรียกท้องฟ้าว่าสีอะไร ก็คงเป็นสีฟ้าใช่ไหมคะ แต่ถ้าย้อนกลับไปเขาเรียกท้องฟ้ากันว่าสีเขียวนั่นแหละค่ะ และนี้ก็คือเหตุผลที่ว่า ทำไมเราถึงเรียก Blueprint ว่า “พิมพ์เขียว” นั่นเอง


เพิ่มเติมข้อมูลของ พิมพ์เขียว 

พิมพ์เขียว หรือ แบบแปลนบ้าน ตามราชบัณฑิตยสถานมีความหมายว่า “พิมพ์สำเนาโดยการฉายแสงผ่านต้นฉบับที่เป็นกระดาษบาง ๆ ลงบนกระดาษที่เคลือบสารเคมีซึ่งไวต่อแสง ให้ปรากฏเป็นลวดลายสีขาวบนพื้นสีนํ้าเงินหรือลวดลายสีนํ้าเงินบนพื้นขาว” คือสิ่งพิมพ์รูปแบบหนึ่งของเอกสารสำหรับออกแบบโครงร่างแบบบ้าน แบบอาคาร ถือเป็นสิ่งหนึ่งที่สำคัญในการสร้างบ้านเลยล่ะ 🏡


เขียนโดย Phanitphan Eaimnon

Share
.