ศัพท์ที่เขียนเหมือนกันแค่คนละความหมาย

1702
dictionary&matchtype=b&placement

หลายครั้ง ที่เราเจอคำศัพท์ในบริบทนึง ศัพท์นั้นมีความหมายแบบนึง แต่พอไปเจอในอีกบริบทนึงกลับมีความหมายอีกแบบนึง อ๋าาาาแค่เริ่มมาหัวก็จะปวดล่ะ 

แต่อย่าเพิ่งปวดไป เพราะรู้ไหมว่าคำศัพท์แบบนี้เขามีชื่อเรียกนะ 

.

เขาเรียกว่า “Homograph” มาจาก “Homo = เหมือน, Graph = เขียน” หรือในภาษาไทยที่เรียกว่า
“คำพ้องรูป” ที่ซึ่งเป็นคำศัพท์ที่เขียนเหมือนกัน สะกดเหมือนกัน แต่มีความหมายไม่เหมือนกัน ลองมาดูตัวอย่างที่แอดเอามาฝากกันค่า


Lead

(v.) นำ, สั่ง, บัญชาการ

(n.) ลม


Bass

(n.) ดนตรีเสียงต่ำ

(n.) ชนิดปลา


Close

(v.) ปิด

(adj.) ใกล้, ใกล้ชิด, สนิท


Bow

(v.) โค้งคำนับ

(n.) หูกระต่าย


Ball

(n.) ลูกบอล, งานเลี้ยงลีลาศ, อัณฑะ


Fly 

(v.) บิน

(n.) แมลงวัน, ซิป


Left

(v.) ปล่อย ทิ้ง ออกจาก; รูปอดีตของ leave

(adj.) ซ้าย


Fair

(adj.) ยุติธรรม, สวย, โทนผิวขาว

(n.) งานแสดงสินค้า


Tear 

(n.) น้ำตา

(v.) ฉีก, ขาด 


Sow 

(v.) หว่านเมล็ด ใช้ในการเกษตร

(n.) สุกรเพศเมีย


จะสังเกตเห็นได้ว่าความหมายคำที่เปลี่ยนไป หน้าที่ของคำหรือ part of speech ก็เปลี่ยนไปด้วย ดังนั้นการจะนำไปใช้ก็ไม่ได้น่าสับสนขนาดนั้นเนอะ ลองนำไปใช้กันดูนะคะ 💌

เขียนโดย Phanitphan Eaimnons

Share
.