7 ความเข้าใจผิด เรื่องการใช้ภาษาอังกฤษของคนไทย

1631

1. คำเดียวกันไม่ได้มีความหมายเดียว

เช่น Address (n.) แปลว่า ที่อยู่

I will give you my phone number and address.
คำแปล ฉันจะให้เบอร์โทรศัพท์และที่อยู่ของฉัน

.

Address (n.) แปลว่า ที่อยู่/ที่ติดต่อ(คำทางสารสนเทศ)

May I have your email address, please?
คำแปล ฉันขอที่อยู่อีเมลของคุณได้ไหม

Address(n.) แปลว่า การพูดสุนทรพจน์อย่างเป็นทางการต่อหน้าผู้ฟัง/ผู้ชม

She gave an address to the Royal Academy of Science.
คำแปล เธอกล่าวสุนทรพจน์แก่ราชวิทยาลัยวิทยาศาสตร์

ข้อแนะนำ ดูบริบท และรู้จักหลายๆความหมาย เพื่อเข้าใจสิ่งที่ผู้พูดหรือผู้เขียนต้องการสื่อ


2. เริ่มในจุดที่ไกลเกินทักษะของเรา

เช่น เราอยู่ในทักษะเริ่มต้น แต่อ่านหนังสือฉบับTwilight,Harry Potter เป็นต้น 

สิ่งที่ตามมาคือ ไม่สนุก และรู้สึกท้อใจกับภาษาอังกฤษ หรืออาจจะแอบตำหนิความสามารถของตัวเองว่าทำไมไม่เก่งเหมือนคนอื่น เราโง่หรือเปล่า

ไม่ใช่เลยค่ะผู้เรียน ผู้เรียนเลือกหนังสือ หรือเลือกทำในสิ่งที่ใกล้เคียงกับทักษะเรามากที่สุดก่อนค่ะ

ข้อแนะนำ หากว่าเราทราบว่าอยู่ระดับ A2 (CEFR Level) ให้เลือกหนังสือสือระดับ A1 เพื่อความสนุกสนานและพัฒนาต่อได้ด้วยค่ะ


3. ฝึกอย่าง คาดหวังจะได้อีกอย่าง

 เช่น เราฝึกทักษะการอ่าน แต่หวังว่าจะได้ทักษะการเขียน ตะบี้ตะบันอ่านเป็นสิบๆเล่ม 

ข้อแนะนำ หากอยากได้ทักษะการอ่าน ก็คือฝึกอ่าน อยากได้การพูด ต้องฝึกพูดออกมา เปล่งเสียง (ใครมองเราแปลกๆ ว่าทำไมต้องอ่านออกเสียง อย่าได้แคร์สื่อ เพราะนี่เป็นการฝึกจริงๆค่ะ)


4. เรียนภาษาอังกฤษ จำเป็นต้องไปเมืองนอก

จริงๆ แล้วนี่คือเรื่องที่ยังเข้าใจผิด เพราะปัจจุบันนี้มีสื่อมากมายที่สามารถทำให้เราเก่งภาษาอังกฤษได้มากขึ้น ไม่ว่าจะเป็น Youtube Tiktok Instagram เว็บไซต์และแอพอื่นๆ 

ยกตัวอย่างเว็บไซต์ทีน่าสนใจ (สำหรับแอด) เช่น

www.elllo.org 

https://www.bbc.co.uk/learningenglish/english/features/6-minute-english

Application ที่น่าฝึกฝนทุกวัน ยกตัวอย่างเช่น

“Cake”
“Let me speak”
“6 minute English”

หากต้องการฝึกกับคนจริงๆ ตอนนี้มีแอพหาเพื่อนคุยมากมายเลยไม่ว่าจะอยู่มุมไหนของทั่วโลก (ทั้งนี้ระวังตัวด้วยนะคะ อย่าทำอะไรที่อาจเป็นอันตรายต่อตนเอง ยิ่งโลกเข้าสู่ดิจิตอลมากขึ้น เรายิ่งต้องระมัดระวังและรอบคอบมากขึ้นเช่นกันค่ะ)

หรือหากมีโอกาสอยากให้ลองไปเที่ยวต่างถิ่นต่างที่ (เมื่อเศรษฐกิจดีขึ้น ต่างชาติเข้ามามากขึ้น นี่ก็เป็นอีกหนทางหนึ่งจะได้นำภาษาอังกฤษที่เราฝึกปรือมาใช้จริงค่ะ)


5.ใจฝ่อทันที่ เมื่อเห็นคนอื่นพูดภาษาอังกฤษได้คล่องปรื๋อ 

ไม่เป็นไรนะคะน้องๆ แอดก็เคยเจอเหตุการณ์แบบนี้มาค่ะ แต่สิ่งที่แอดคิดตอนนั้นคือแล้วทำอย่างไรให้เก่งขึ้น ให้เรากลับมาฝึกฝนอย่างต่อเนื่อง มีแรงผลักดัน และมีกำลังใจว่าเราทำได้แน่นอนค่ะ 

คนที่มีทักษะภาษาอังกฤษที่เก่งขนาดนั้นเราไม่รู้เลยว่า เบื้องหลังเขาได้พยายามและฝึกฝนตนเองขนาดไหน

เราก็เช่นกันค่ะ 


6.อายเพื่อน กลัวเพื่อนล้อสำเนียง

มั่นใจเข้าไว้ค่ะ สำเนียงเป็นส่วนหนึ่ง แต่ไม่ใช่ทั้งหมด

สิ่งสำคัญของการเรียนภาษาอังกฤษคือ การฟังให้เข้าใจ ว่าผู้พูดสื่อถึงอะไร และผู้ฟังสามารถสื่อสารตอบโต้ได้

ลองนึกภาพตามแอดดูน้า สมมติเรามีความต้องการย้ายถิ่นฐานไปต่างประเทศหรือด้วยจุดประสงค์อื่น แต่ต้องผ่านด่านสัมภาษณ์กับกรรมการเพื่อต้องทำวีซ่า
หากกังวลใจเรื่องสำเนียง ไม่กล้าพูด กรรมการอาจจะต้องพิจารณาการขอเข้าประเทศนั้นๆอย่างหนัก นั่นอาจทำให้เราไปถึงฝังฝันก็ได้

อย่าให้สำเนียงเป็นอุปสรรคต่อการพูด เกลากันทีหลังได้ค่ะ (^_^)


7. อยู่เมืองนอก การันตีได้ว่า เขาจะพูดอังกฤษเก่ง

จริงๆ แล้วก็ไม่ได้การันตีได้เสมอไป อาจจะมีคนไม่เห็นด้วยกับแอด 
แต่ว่า แอดเคยเจอคนรู้จักแอดเป็นแบบนี้นะคะ ตอนไปเรียนคือจับกลุ่มอยู่กับคนไทย ไปเที่ยวก็ไปกับคนไทย เหมือนไปทำงานเก็บเงินอย่างเดียวจริงๆค่ะ

อยากให้เชื่อแอดอย่างหนึ่งว่า ทุกอย่างอยู่ที่การฝึกฝน การเรียนรู้ และนำไปใช้จริงๆค่ะ

“It doesn’t matter how slowly you go as long as you do not stop.” – Confucius

ไม่สำคัญว่าคุณจะก้าวเดินช้าแค่ไหน ตราบใดที่คุณไม่หยุด


เขียนโดย Sawitri Th. (สาวิตรี ธารรัตนานุกูล)

Share
.