ศัพท์แสลงที่เกี่ยวกับ Cryptocurrency สกุลเงินดิจิทัล

1347
Popular Crypto Slang Every Beginner Needs to Know

ปฏิเสธไม่ได้เลยครับ ว่าในปัจจุบันนี้ กระแสของ สกุลเงินดิจิทัล หรือ “Crypto Currency” นั้น ถือเป็นเทคโนโลยีใหม่ที่มาแรงอย่างมาก แล้วคือไม่ได้มาแบบเล่นๆ เพราะส่งผลกระทบโดยตรงกับระบบการเงินทั้งหมดที่มีอยู่ในโลกปัจจุบันในตอนนี้ ชนิดที่ว่า ร่างกฎหมายกันแทบไม่ทันเลยทีเดียว

Cryptocurrency_investing

และตามธรรมชาติของเทคโนโลยีที่เกิดขึ้นมาใหม่ ก็มักจะมาพร้อมกับคำศัพท์ และ คำ slang ใหม่ๆ มากมาย ทั้งแบบที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ โดยตัวละคำ จะมีที่มาและความหมายในตัวของมันเอง 

.

วันนี้แอดมินเลยแอบกังวลว่า ลูกเพจอิงนาว ถ้าหากไม่รู้จักคำศัพท์เหล่านี้เลย เดี๋ยวจะไปคุยกับใคร ไม่รู้เรื่อง เราจะไม่ยอมให้คนของเราตกขบวนรถไฟโดยเด็ดขาด >O<

แอดมินเลยจัดมาให้ครับ กับ “14 คำ slang เกี่ยวกับโลก Crypto Currency” มารับชมกันเลย :

.

.

1. FOMO

คำว่า “FOMO” เป็นคำย่อนะครับ มาจากคำว่า “Fear of missing out” ซึ่งเป็นคำที่ใช้อธิบายอาการที่นักลงทุนเกิดความกลัวที่จะพลาดโอกาสอะไรบางอย่างไป หรือ เป็นความกังวลว่าไม่ได้อยู่ในจุดที่สามารถทำผลกำไรได้ในตลาด หรือ อาการที่กลัวว่าจะลงทุนไม่ทัน นั่นเอง


2. HODL

คำว่า “HODL” เป็นคำย่อ มาจากคำว่า “Hold on for dear life” ซึ่งถ้าแปลความหมายง่ายๆ ก็คือ สายถือเหรียญคริปโตฯ ไปแบบยาว ๆ โดยอาจจะถือเป็นเดือนหรือเป็นปี ไม่ขาย ไม่ว่าราคาตลาดจะเป็นเช่นไร จะผันผวนสักแค่ไหน ดังนั้น สิ่งที่นักลงทุนสายนี้ต้องคำนึงคือเทคโนโลยีของเหรียญที่เราเข้าซื้อถือว่ามีโอกาสที่จะเติบโตมากน้อยเพียงใด มีศักยภาพเติบโตได้ในระยะยาวหรือไม่ 

ตัวอย่างการใช้คำ : 

“The price of Doge coin is dropping, but I plan to HODL through it!”

“ราคาของเหรียญ Doge กำลังอยู่ในช่วงขาลง แต่ฉันวางแผนที่จะถือมันแบบยาวๆไว้แล้ว!”


3. Shill

คำว่า “Shill” หรือ “Shilling” คือการใช้การโฆษณาชวนเชื่อ หรือการเล่าเรื่องที่เป็นเท็จหรือเกินจริงเพื่อสร้างแรงจูงใจ หรือโน้มน้าวให้เกิดความสนใจในการบริการ หรือ การลงทุนนั้นๆ เช่น การจ้าง influencer เพื่อมาทำโฆษณาให้กับเหรียญ crypto currency  ที่ตนเองเป็นเจ้าของ หรือ ถือหุ้นไว้ เพื่อให้เกิดกระแสความสนใจ

ตัวอย่างการใช้คำ : 

“It’s often frowned upon when people shill coins on social media for their own personal gain.”

“มันเป็นเรื่องที่ยอมรับไม่ได้เลย เมื่อมีคนทำการโฆษณาชวนเชื่อเกี่ยวกับเหรียญบนโซเชียลมีเดีย เพื่อผลประโยชน์ส่วนตนของพวกเขาเท่านั้น ”


4. FUD

คำว่า “FUD” เป็นคำย่อของ คำ 3 คำ นะครับ มาจากคำว่า “Fear, Uncertainty, Doubt” หรือ “ความกลัว, ความไม่แน่นอน,  ความสงสัย” ซึ่งมันคือกลยุทธ์ชวนเชื่อในทางสื่อสารมวลชน โดยมีไอเดียหลักก็คือ การทำให้คนทั่วไปรับรู้เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์, เทคโนโลยี, หรือผู้สมัครคนนั้น ๆ ด้วยการปล่อยข้อมูลผิด ๆ ออกไป เพื่อหวังผลให้เกิดความรู้สึกในแง่ลบ

ตัวอย่างการใช้คำ : 

“He fearfully sold all his coins because he listened to the FUD.”

“เขาได้ขายเหรียญทั้งหมดของเขาทิ้งไป เพราะเขาได้ยินเกี่ยวกับ FUD มา”


5. Rekt

คำว่า “Rekt” นั้น เป็น slang ที่เลียนแบบเสียงมาจากคำว่า “wrecked” ที่แปลว่า “แตกหัก” หรือ “พังพินาศ”

โดยคำนี้ใช้อธิบายสถานะของผู้ลงทุน ที่ ประสบการสูญเสียทางการเงินอย่างหนักเนื่องจากการเทรด (Trading) หรือการลงทุน และแทบจะเรียกได้ว่า “โดนล้างพอร์ต” กันเลยทีเดียว

ตัวอย่างการใช้คำ : 

“After the price of XRP fell, my position was rekt.”

“หลังจากราคาเหรียญ XRP ดิ่งลงนั้น ฉันก็พังพินาศ ทันที”


6. Whale

คำว่า “Whale” หรือ “ปลาวาฬ”   นั้น เป็นคำที่ใช้เรียกแทนผู้ที่ถือเหรียญรายใหญ่ หรือเรียกได้ว่าผู้ที่มีเหรียญจำนวนมาก ระดับ 1,000 – 10,000 BTC ไว้ในครอบครอง ซึ่งการซื้อและการขายเหรียญของกลุ่มวาฬ จะถือว่าเป็นการ “ทุบ” กราฟอย่างมาก โดยมักส่งผลกระทบต่อกราฟและการเปลี่ยนแปลงของราคาทั้งทางตรงและทางอ้อม

ตัวอย่างการใช้คำ : 

“A whale sold a big position this morning, and as a result, the price of Bitcoin is dropping.”

“วาฬได้ขาย position ใหญ่เมื่อเช้านี้ และผลที่เกิดขึ้นคือ ราคา Bitcoin ก็กำลังดิ่งลงทันที”


7. Pump and Dump

คำว่า “FUD” เป็นคำย่อของ คำ 3 คำ นะครับ มาจากคำว่า “Fear, Uncertainty, Doubt” หรือ “ความกลัว, ความไม่แน่นอน,  ความสงสัย” ซึ่งมันคือกลยุทธ์ชวนเชื่อในทางสื่อสารมวลชน โดยมีไอเดียหลักก็คือ การทำให้คนทั่วไปการ “Pump and Dump” หรือการ “ปั่นราคา” ถือเป็นอาชญากรรมในวงการคริปโตได้เลยนะ โดยวิธีการคือ การสร้างกระแสปั่นราคาเหรียญให้สูงขึ้นด้วยการซื้อเหรียญมาเก็บไว้เป็นจำนวนมาก แล้วเอามาปล่อยในราคาสูงๆ เพื่อกวาดเอา


8. Bagholder

คำว่า Bagholder นี้ ในโลกคริปโต ไม่มีใครอยากเป็น! เพราะ คำนี้ถือว่าเป็น “เดอะแบก” จริงๆครับ แบกอะไรน่ะหรือ? คำตอบคือ แบกเหรียญที่ซื้อมาตอนราคาสูง แต่พอมาถือแล้วราคาก็ดิ่งลงอย่างไม่เป็นมิตร TT และพวกเขาก็ยังไม่สามารถขายมันได้ ก็ทนถือเจ้ากระเป๋านี้ และเป็น bagholder ต่อไป

ตัวอย่างการใช้คำ : 

“Sell your coins now before the price drops, otherwise you’ll be the bagholder.”

“ขายเหรียญของคุณตอนนี้เลย ก่อนราคามันจะลงอีก ไม่งั้นคุณจะกลายเป็น bagholder นะ”


9. Lambo

คำว่า “Wคำนี้มาจาก ยี่ห้อรถซุปเปอร์คาร์ชื่อดัง อย่าง “ลัมโบร์กินี” โดยเปรียบเสมือนจุดหมายปลายทางของนักลงทุนคริปโตทั้งหลาย ที่หากได้ผลกำราเยอะ สิ่งแรกๆที่องก็คือเจ้ารถหรูคันนี้นั่นเอง เพราะฉะนั้น เลยเอามาใช้ทับศัพท์ประมาณว่า “มีเงินมากจนซื้อลัมโบ” ได้เลย เช่น เล่นมานานแล้ว เมื่อไหร่แกจะ lambo สักที ก็คือ เมื่อไหร่แกจะรวยจนซื้อลัมโบได้ สักทีล่ะ

ตัวอย่างการใช้คำ : 

“I just bought into Coin X…. When Lambo?”

“ฉันเพิ่งซื้อเหรียญ X มา … เมื่อไหร่จะลัมโบ น้า”


10. Flippening

หากฝืนแปล TT 
คำว่า Flippening ก็จะให้ความหมายคล้ายๆจะเป็นประมาณว่า “การพลิก”
กล่าวคือ เป็นปรากฏการณ์ที่จะมีเหรียญ alternative coin ตัวอื่น เช่น Ethereum ขึ้นมามีมูลค่าสูงจนแซง Bitcoin ไปได้

ตัวอย่างการใช้คำ : 

“I’m loading up on ETH in anticipation of the Flippening.”

“ฉันลง ETH ไป ด้วยความหวังที่ว่า สักวันจะมีปรากฏการณ์ เหรียญ ETH แพงกว่า เหรียญ BTC”


11. No Coiner

คำว่า “No-Coiner” หมายถึง บุคคลที่ไม่ได้ถือ crypto currency เลยสักเหรียญเดียว อาจเป็นบุคคลที่ยังไม่พร้อมรับความเสี่ยงในการลงทุน หรือ บุคคลที่มองไม่เห็นอนาคตใน crypto currency นั่นเอง

ตัวอย่างการใช้คำ : 

“I just heard some no-coiner about how Bitcoin is going down the tubes.”

“ฉันได้ยิน ผู้ที่ไม่สนใจเรื่องcrypto currency ที่พูดไว้ว่า เหรียญ Bitcoin นั้นกำลังดิ่งลงเหว หรือ กำลังล้มเหลว อยู่”


12. Cryptosis

คำว่า “Cryptosis” คือชื่อของอาการชนิดหนึ่งที่ถูกบัญญัติขึ้นมา ใช้อธิบายคนที่ที่จิตจะฟุ้งซ่าน ใจจดใจจ่อต่อเรื่องของ crypto currency (โดยเฉพาะเหรียญที่ตนเองถือครองอยู่ หรือเพิ่งซื้อมา) โดยมักจะ อ่าน เขียน พูดคุย และเสพข่าวสารแทบจะทั้งวัน ไม่มีหยุด

ตัวอย่างการใช้คำ : 

“I introduced my older brother to Bitcoin, and now he has a serious case of Cryptosis.”

“ฉันได้แนะนำเหรียญ Bitcoin ให้พี่ชายของฉัน และตอนนี้ เขาก็เป็นโรค Cryptosis อย่างจริงจัง”


13. BTD/BTFD

คำว่า “BTD หรือ BTFD” ย่อมาจาก “Buy the dip / Buy the f**** Dip”

การแนะนำให้บรรดานักลงทุนเลือกช้อนเหรียญที่คิดว่ามันน่าจะตกลงสู่จุดที่ควรจะเป็นมูลค่าที่ต่ำที่สุดในขณะนั้นแล้ว เพื่อการทำกำไรในอนาคต


14. KYC

คำว่า KYC ย่อมาจาก “Know your customer” หรือแปลว่า “รู้จักลูกค้าของคุณ” เพราะว่ากระบวนการของ KYC นั้นคือการพิสูจน์ตัวตนของลูกค้าทุกคนที่มาสมัคร โดยการทำความรู้จักกับลูกค้าของคุณทุกคนนั้นจะเป็นการเพิ่มการป้องกันการโจรกรรมเอกลักษณ์บุคคลเพื่อไปใช้เปิดบัญชีโดยที่เจ้าของไม่รู้ตัว นั่นเอง


Source : https://www.sofi.com

เขียนโดย Chainarong K.
ชัยณรงค์ คงสนทนา

Share
.