1. จัดระเบียบพื้นที่สมองของตัวเองก่อน
ต้องมั่นใจว่าเราไม่มีสิ่งอะไรมารบกวนความคิดของเรา ซึ่งมันจะช่วยทำให้เราโฟกัสกับสิ่งที่เรากำลังจะเรียนได้ดีถ้าเราไม่สามารถโฟกัสได้นั่นก็เป็นเพราะว่าเรามีสิ่งรบกวนไม่ว่าจะเป็นเรื่องใดๆก็ตามที่อยู่ในหัว ดังนั้นเราควรจัดระเบียบให้ดีเสียก่อนก่อนที่จะเริ่มเรียน
2. การเห็นข้อมูลเป็นภาพ
เวลาที่เรากำลังคิดหรือวิเคราะห์สิ่งใดก็ตามพยายามคิดออกมาให้มันออกมาเป็นภาพ เรากำลังพูดถึงหัวข้อที่หนึ่งซึ่งเกี่ยวกับการกินอาหารเพื่อรักษาสุขภาพ ลองนึกภาพออกมาจินตนาการออกมาว่าการกินอาหารเพื่อรักษาสุขภาพมีประโยชน์อะไรบ้างโดยการโยงข้อมูลออกมาเป็นข้อมูลที่ 1 โยงข้อมูลออกมาเป็นข้อมูลที่ 2 และอันสุดท้ายเป็นสิ่งนี้นะ การคิดข้อมูลให้ออกมาเป็นภาพแบบนี้จะช่วยทำให้เราเห็นภาพได้ชัดเจนมากขึ้นแต่เราก็ต้องใช้จินตนาการพอสมควร
3. ใช้ ACRONYMS และ MNEMONICS
หลายคนอาจจะงงว่ามันคืออะไร ซึ่งเทคนิคนี้คือการจำแบบการจำมาจากคำศัพท์ที่ใกล้เคียงกัน คำว่าเอาและคำว่าต้องการ อาจจะมีความหมายเหมือนกันแต่บริบทในการใช้แตกต่างกัน คำแบบนี้เราเรียกว่าคำใกล้เคียง เราควรจำมาจากสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่ใกล้เคียงกัน เทคนิคนี้จะทำให้เราได้คำศัพท์และได้สิ่งใหม่ๆที่หลากหลาย และยังสามารถทำให้เราจำกัดประเภทของสิ่งนั้นได้เพราะว่าเราจำมันมาจากสิ่งที่ใกล้เคียงกัน
4. ฉันจำโดยใช้ชื่อและภาพ
พยายามจำโดยภาพมาเกี่ยวข้อง อย่างเช่นเรากำลังท่องคำศัพท์เกี่ยวกับการท่องเที่ยว คำว่าภูเขาให้เรานึกถึงดอยตุง อะไรประมาณนี้พยายามจำคำศัพท์กับภาพให้มันเกี่ยวข้องกันเพื่อให้เราสามารถจำได้ง่ายขึ้นนั่นเอง
5. ใช้เทคนิค CHAINING TECHNIQUE
พยายามใช้สิ่งรอบตัวให้เป็นประโยชน์โดยการเรียนรู้จากมัน เช่นการสร้างประโยคเป็นภาษาอังกฤษจากสิ่งรอบๆตัว ทีนี้เวลาเราจำเราจะจำจากเหตุการณ์ที่มันเคยเกิดขึ้นกับเราซึ่งมันเกิดขึ้นกับสิ่งรอบตัวของเรามันจะทำให้เราสามารถจำได้ดียิ่งขึ้นและแม่นยำยิ่งขึ้น อย่างเช่น เรากำลังจะไปตลาดแล้วเราเจอผักผลไม้ที่เราชอบ เราลองสร้างประโยคมันขึ้นมา หลังจากนั้นเวลาที่เราต้องนึกคำศัพท์อะไรบางอย่างเกี่ยวกับผลไม้เราก็จะจำได้ว่า ก็วันนั้นไงวันที่เราไปตลาดกับเพื่อนแล้วเราได้ลองสร้างประโยคดูมันมาจากเหตุการณ์นั้นนั่นเอง
6. เรียนรู้โดยการกระทำ
การเรียนรู้โดยการแสดงมันออกมา พยายามออกอาการกริยาท่าทางต่างๆ เวลาที่เรากำลังเรียนรู้ จะช่วยทำให้เราสามารถจำข้อมูลได้จากการขยับกล้ามเนื้อ ถ้าคุณไม่สามารถขยับกล้ามเนื้อหรือขยับตัวได้เราก็สามารถนึกภาพการกระทำนั้นๆไว้ในหัว คำศัพท์คำว่าไหว้ให้เราลองยกมือมาไหว้ หรือการที่เรากำลังเรียนรู้คำศัพท์เกี่ยวกับนิสัย เราลองจินตนาการภาพนั้นออกมาและกระทำการออกมาอย่างเช่น นิสัยโกรธอารมณ์รุนแรง เราก็สามารถแสดงอากัปกิริยาท่าทางที่โกรธ แบบนี้จะช่วยทำให้เราเรียนได้ไม่น่าเบื่อและจำได้ดีจากการกระทำนั้นเอง
7. เรียนในที่ที่ต่างกัน
หน่วยความจำของเราสามารถถูกกระตุ้นโดยสัญญาณต่างๆในสภาพแวดล้อมของเราเอง ดังนั้นถ้าเราประสบปัญหาในการจดจำเนื้อหาที่เรากำลังศึกษาอยู่ ให้ลองย้ายไปยังจุดใหม่เพื่อช่วยให้ข้อมูลนั้นมันโดดเด่นขึ้นมา
8. พยามทบทวนสิ่งที่เราได้เรียนรู้ใหม่ๆ
สิ่งนี้จะช่วยให้เราได้จำอย่างแม่นยำมากขึ้นเวลาที่เราได้เรียนหรือได้เรียนรู้สิ่งใหม่ๆพยายามอยู่กับมันและทบทวนมันกับมันเท่าที่เราจะทำได้ เพราะมันยังใหม่อยู่และเรายังสามารถมีกำลังใจที่จะอยู่กับมันได้อยู่ แต่ถ้าเราได้เรียนรู้สิ่งใหม่ใหม่แล้วเราทิ้งห่างไปนานๆ เราอาจจะลืมมันไป ดังนั้นให้ดีที่สุดคือพยายามอยู่กับมันให้ได้มากที่สุด