วิธีบอกข่าวร้ายอย่างไรให้ soft ในภาษาอังกฤษ

3857


ในจุดหนึ่งของชีวิต เราก็ต้องมีข่าวร้ายที่ต้องบอกใครบางคน แม้ว่าข่าวร้ายหรือสถานการณ์แย่ ๆ เป็นเรื่องที่ไม่มีใครอยากได้ยินหรืออยากบอกกัน แต่ในบางสถานการณ์เราก็หลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องพูดออกไป แต่จะพูดอย่างไรดีให้เราดูเป็นผู้พูดที่ดีและถนอมน้ำใจคนอื่น เราจึงนำวิธีบอกข่าวร้ายแบบซอฟท์ ๆ ในภาษาอังกฤษมาให้ได้อ่านกัน
.
.
.

เริ่มจากการเกริ่น !

.

เริ่มแรกเราอาจจะต้องพูดเกริ่นก่อนเพื่อให้ผู้ฟังได้รู้และเตรียมใจว่าเราจะพูดถึงเรื่องอะไร การที่เราใช้ประโยคเกริ่นก่อนก็ทำให้ผู้ฟังพร้อมกับสิ่งที่เราจะพูด โดยเราสามารถใช้ประโยคดังนี้

  • “I’m afraid I’ve got some bad news…”
    (ฉันเกรงว่าฉันมีข่าวร้ายจะบอก)
  • “We regret to inform you that..”
    (เราเสียใจที่จะบอกคุณว่า….)
  • “I’m really sorry to have to say this but..”
    (ฉันรู้สึกเสียใจจริง ๆ ที่จะต้องพูดเรื่องนี้แต่…)

.
.
.

รายละเอียดก็สำคัญนะ !

การบอกรายละเอียดเบื้องหลังหรือบอกเหตุผลที่สำคัญกับผู้ฟังจะช่วยให้ผู้ฟังเข้าใจเรื่องที่จะฟังได้มากขึ้น ผู้พูดควรจะบอกความจริงทั้งหมดกับผู้ฟังเพราะผู้ฟังสมควรที่จะรู้และทำให้ผู้ฟังเข้าใตในสถานการณ์ เราสามารถใช้ประโยคเหล่านี้ได้เลย เช่น

  • “Unfortunately, there are some problems with…”
    (น่าเสียดายจัง มันมีปัญหานิดหน่อยกับ…)
  • “Due to…”
    (เนื่องจาก…)
  • “Because of…”
    (เพราะ…)

.
.
.

 ความเห็นอกเห็นใจต้องมี !

การใช้คำพูดที่ปลอบประโลมเป็นเรื่องที่สำคัญเพราะเป็นการช่วยบรรเทาความเจ็บปวด แม้ว่าทุกคนอาจจะไม่ได้แสดงออกเหมือนกันต่อข่าวร้าย แต่การพูดดี ๆ ใส่กันก็ช่วยให้สถานการณ์ดีขึ้น เราจะพูดดังนี้

  • “I can see that you’re really upset and angry…”
    (ฉันเข้าใจดีว่าเธออารมณ์เสียและโมโหมาก…)
  • “I can see why you might think that…”
    (ฉันเข้าใจแล้วว่าทำไมเธอถึงคิดแบบนั้น…)
  • “I can see why you might feel that way.”
    (ฉันเข้าใจแล้วว่าทำไมเธอถึงรู้สึกแบบนั้น)

.
.
.

ขอโทษอย่างจริงใจ !

แม้ว่าเรื่องที่เกิดขึ้น เราจะไม่ได้เป็นคนทำ แต่ในฐานะผู้ส่งสารควรห่วงใยและแสดงความเสียใจกับสิ่งที่เกิดขึ้น การยอมรับความผิดพลาดและขอโทษอย่างจริงใจช่วยให้ผู้อื่นก้าวต่อไปได้ พวกเขาจะไม่จมกับความรู้สึกแย่ ๆ โดยเราสามารถใช้ประโยคดังต่อไปนี้

  • “Please accept my apologies for any inconvenience this has caused.”
    (โปรดขออภัยในความไม่สะดวกที่เกิดขึ้น)
  • “Sorry, I couldn’t be (of) more help.”
    (ขอโทษด้วย ที่ฉันไม่สามารถช่วยได้มากกว่านี้)
  • “We sincerely apologize for the outcome.”
    (เราขออภัยอย่างจริงใจสำหรับผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น)

.
.
.

 จุดไฟให้ความหวัง !

เมื่อเราได้บอกข่าวร้ายไปแล้วเราจะคิดว่าหน้าที่ของเราอาจจะจบแล้ว แต่เรายังสามารถทำสิ่งอื่นที่ดีกว่านั้นได้ไม่ว่าจะเป็นการเสนอวิธีแก้ปัญหา ให้กำลังใจ หรือแบ่งปันความรู้สึกในแง่บวกที่ทำให้ผู้ฟังมีความหวัง วิธีนี้จะช่วยให้อีกฝ่ายตระหนักว่าสถานการณ์ของเขายังไม่สิ้นสุดและยังมีบางอย่างที่เขาสามารถทำได้ เราสามารถพูดได้ดังนี้

  • “Would you consider an alternative solution like…?”
    (เธอจะพิจารณาทางเลือกอื่น เช่น…หรือไม่)
  • “Although the result may not be what we expected, it may be better on our next try.”
    (แม้ว่าผลลัพธ์อาจจะไม่เป็นไปตามที่เราคาดหวัง แต่มันอาจจะดีกว่าในการลองครั้งต่อไป)
  • “The good thing about this is that we can still…”
    (สิ่งที่ดีเกี่ยวกับเรื่องนี้ก็คือว่าเรายังคงสามารถ…)

.
.
.

ปิดท้ายด้วยความอ่อนโยน !

เมื่อเราจะจบการสนทนาเกี่ยวกับข่าวร้ายแล้ว เราไม่ควรจบลงแบบกะทันหันเพราะจะทำให้ผู้ฟังรู้สึกเคว้งคว้าง เราจะพูดปิดท้ายด้วยประโยคที่มีความหวังและเป็นบวก เช่น

  • “Thank you in advance for your understanding.”
    (ขอขอบคุณล่วงหน้าสำหรับความเข้าใจของคุณ)
  • “I hope everything will get better soon.”
    (ฉันหวังว่าทุกอย่างจะดีขึ้นในเร็ว ๆ นี้)
Share
.