6 หลักการที่ผมใช้เรียนรู้ทักษะต่างๆ

945

ย้อนกลับไปในปี 1997 งานแรกของผมหลังจากเรียนจบจากวิทยาลัย คือ การเป็นนักถ่ายทำวิดีโอเพื่อการศึกษาของบริษัทแห่งหนึ่งในกรุงวอชิงตัน ในฐานะนักศึกษาสาขาภาพยนตร์และสื่อที่ Penn State University ผมเคยใช้ฟิล์มและกล้องวิดีโอรุ่นต่างๆประมาณครึ่งโหล ตั้งแต่รุ่น Arri-16 ไปจนถึง Sony Betacam SX
อุปกรณ์ทั้งหมดที่มีเป็นอุปกรณ์ที่ล้าสมัยไปอย่างน้อย 10 ปี ดังนั้น เมื่อผมมาถึงในวันแรกที่ทำงาน ผมพบว่า ผมต้องใช้งานและคอยบำรุงรักษากล้อง Panasonic DVCPRO25

.

ถัดจากกล้องรุ่นอื่นๆที่ผมเคยใช้มาก่อนหน้านี้ มันดูราวกับว่ากล้อง DVCPRO เป็นเรือ USS Enterprise ที่จอดลอยลำอยู่ในหมู่เรือเล็กทั้งหลาย ผมมีเวลาเพียงสองสัปดาห์ในการเรียนรู้วิธีใช้สิ่งนี้ด้วยตัวเองก่อนที่นักถ่ายทำฯคนเก่าจะลาออกไป ผมรู้ตัวว่า ผมต้องจดจ่อและง่วนอยู่กับการเรียนรู้วิธีใช้งานกล้องดังกล่าวให้เร็วที่สุด มิฉะนั้นผมจะเสี่ยงต่อการสูญเสียงานแรกของผมก่อนที่จะได้เริ่มทำ

.

.

Hopefully, it’s under a little less pressure. But no matter the circumstance, there are a few principles we can follow that will help ensure a win when it comes to learning a new skill.

ผมต้องทำทุกอย่างเท่าที่จะทำได้เพื่อให้ใช้กล้องได้อย่างเชี่ยวชาญ ดังนั้น ผมจึงอ่านคู่มือ คอยสังเกตทุกอย่างที่นักถ่ายวิดีโอคนอื่นทำอย่างใกล้ชิด ผมถามคำถามทุกครั้งที่ผมไม่แน่ใจว่าเกิดอะไรขึ้นหรือจะต้องทำอะไรต่อไป ผมถามหัวหน้า และถามแม้กระทั่งหัวหน้าของหัวหน้าผมด้วย

สองสัปดาห์ถัดมา ผมก็สามารถใช้งาน DVCPRO ได้ทุกประการ ผมยังไม่เชี่ยวชาญในทุกแง่มุมของคุณสมบัติด้านวิศวกรรมของกล้อง แต่ผมก็สามารถใช้กล้องได้ทุกรูปแบบที่เกี่ยวข้องกับงานของผม
นั่นไม่ใช่ครั้งแรกหรือครั้งเดียวที่ผมต้องยัดความรู้ใหม่ๆมากมายเข้าไปในหัวของผม แต่มันเป็นตัวอย่างของการทำเช่นนั้นในเวลาอันจำกัด ยี่สิบปีต่อมา มีผลิตภัณฑ์ซอฟต์แวร์และฮาร์ดแวร์สารพัดประโยชน์ ออกใหม่ทุกๆเดือน สถานการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นเป็นประจำสำหรับพวกเราส่วนใหญ่
เราได้แต่หวังว่าจะตกอยู่ภายใต้แรงกดดันที่น้อยลง แต่ไม่ว่าจะอยู่ในสถานการณ์ใด ก็ยังมีหลักการบางอย่างที่เราสามารถนำไปปฏิบัติ เพื่อช่วยให้แน่ใจได้ว่า เราจะประสบความสำเร็จในการเรียนรู้ทักษะใหม่ๆ
.
.

หาจุดที่เหมาะเจาะ
ทุกคนมีความอยากรู้อยากเห็นตามธรรมชาติเกี่ยวกับโลกรอบตัวเรา เพียงแค่เปิดหนังสือเล่มหนึ่งเกี่ยวกับฟิสิกส์ของอนุภาคและพยายามอ่านให้หมดทั้ง 700 หน้า โดยหวังว่าจะมีกุญแจสำคัญซ่อนอยู่ในบางหน้า เป็นวิธีที่อาจจะไม่ได้ผลดีนักสำหรับนักเรียนส่วนใหญ่
แต่ถ้าคุณมองหาจุดที่เชื่อมโยงกับชีวิตจริงของคุณ ที่มีความหมายเชื่อมโยงกับเรื่องฟิสิกส์ของอนุภาค คุณจะสามารถจัดการกับงานดังกล่าวได้ด้วยความอยากรู้อยากเห็น ซึ่งจะช่วยให้คุณเกิดแรงผลักดันในการเรียนรู้มากขึ้น

.

ใช้แนวทางเชิงรุก
บางคนอาจเรียนรู้ข้อเท็จจริงและประมวลเนื้อหาได้ดีขึ้นด้วยการอ่าน แต่ถ้าคุณต้องการนำสิ่งที่เรียนรู้ไป ใช้งาน ไม่ใช่เพียงแค่อ่านแล้วสำรอกกลับเข้าไปในหน้าหนังสือ คุณต้องลงมือปฏิบัติสิ่งที่คุณเรียนรู้ควบคู่กันไปกับการเรียนรู้มัน
การเรียนภาษาใหม่เป็นตัวอย่างที่สมบูรณ์แบบ ตอนที่ผมเรียนชั้นมัธยม 1-6 ผมใช้เวลาเรียนภาษาสเปนหกปีกับครูที่เก่งและคล่องแคล่ว ซึ่งมีส่วนร่วมและใส่ใจในเรื่องที่เรากำลังเรียนรู้อยู่ ผมเรียนได้ดีและได้เกรดที่ดี แต่ผมไม่เคยเรียนรู้ที่จะพูดภาษาสเปนได้ดีจนกระทั่งไปเป็นอาสาสมัคร 2 เดือนที่เปอร์โตริโก
ในระยะเวลาสองเดือนของการทำงานและประยุกต์ใช้สิ่งที่เรียนมาจากในหนังสือ เป็นประโยชน์ต่อผมมากกว่าช่วงระยะ
เวลาหกปีที่ผมเรียนในชั้นเรียนเสียอีก

.

ถามและตอบ
นี่เป็นอีกหนึ่งนิสัยของคนที่ประสบความสำเร็จที่สุดที่ผมเคยพบ ทั้งเหล่าผู้บริหาร เศรษฐี และผู้ประกอบธุรกิจต่างๆ เมื่อเกิดคำถามใดๆขึ้นในระหว่างที่คุณพยายามเรียนรู้สิ่งใหม่
คุณต้องทำสองสิ่งนี้:
*อันดับแรก ถามคำถาม อย่ามัวแต่คิดเอง จงขอคำแนะนำจากผู้ให้คำปรึกษา ผู้เชี่ยวชาญ และแม้แต่เพื่อนของคุณ หรือ Google ก็ได้
*ประการที่สอง ถามและค้นหาต่อไปเรื่อยๆ จนกว่าคุณจะได้รับคำตอบ ไม่ว่าคุณจะทำอะไร อย่าปล่อยให้คำถามมากมายเกิดขึ้นในหัวสมองจนกระทั่งคุณลืมเรื่องส่วนใหญ่ที่ต้องการคำตอบหรือปล่อยให้ข้อมูลที่คุณกำลังเรียนรู้เข้าไปทับถมคำถามเหล่านั้น

.

ผลักดันตัวเอง
หากการเรียนรู้สิ่งใหม่มีความซับซ้อนกว่าเรื่องทั่วไป มันย่อมต้องใช้เวลา
‘มันเป็นการวิ่งมาราธอน ไม่ใช่การวิ่งแข่ง’
แม้ว่าคุณจะมีเวลาเพียงสองสัปดาห์ เช่นเดียวกับที่ผมเรียนรู้การใช้กล้อง DVCPRO หรือถ้าคุณมีเวลาหกเดือน คุณก็ไม่ควรเร่งรีบในการเรียนรู้มากเกินไป ไม่เช่นนั้นคุณจะเสี่ยงต่อการอ่อนล้าและพบกับทางตัน ก่อนที่จะบรรลุเป้าหมาย
ในการพยายามที่จะบรรลุเป้าหมายบางอย่าง แทบจะไม่มีอะไรเลวร้ายไปกว่าการหยุดกลางคันและสูญเสียแรงผลักดันทั้งหมดของคุณไป

.

เปลี่ยนวิกฤติให้เป็นโอกาส
ถ้าคุณเจอทางตันหรือมักจะตกอยู่ในสถานการณ์ที่ไม่สามารถเข้าใจ หรือประยุกต์ใช้สิ่งที่กำลังเรียนรู้ หรือเกิดอาการคิดไม่ตก คุณต้องตระหนักว่า ความล้มเหลวเหล่านั้นเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการเรียนรู้ . ความล้มเหลวทุกครั้งเกิดจากข้อผิดพลาดบางอย่างที่คุณสามารถจดจำไว้และวิเคราะห์เพื่อค้นหาวิธีที่คุณสามารถหลีกเลี่ยง หรือเพื่อให้หาทางแก้ไขได้ในครั้งต่อไป
มีวิธีแก้ไขสำหรับทุกปัญหาและคุณสามารถค้นหามันได้ คุณอาจจะต้องเพิ่มความพยายามเป็นสองเท่า ตั้งคำถามที่ดีกว่าเดิม (หรือมากกว่าเดิม) มองหาที่ปรึกษาใหม่ๆ หรือเพิ่มเวลาอีกเล็กน้อยสำหรับการพักผ่อนและลุกขึ้นสู้ต่อไป คำตอบจะรอคุณอยู่ที่นั่น

.

หล่อหลอมตัวเอง
หลักการนี้คล้ายกับหลักการที่ 2 ข้างต้น หรือ “ใช้แนวทางเชิงรุก” แต่ในข้อนี้ หมายถึงการที่คุณต้องรายล้อมตัวเองด้วยสิ่งที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่คุณกำลังเรียนรู้ให้มากที่สุด เช่น การเข้าร่วมหรือมีส่วนร่วมในกลุ่มและชุมชนของผู้คนที่กะตือรือล้นในการเรียนรู้เรื่องเดียวกันกับคุณ
ถ้าเป็นการเรียนภาษา ให้พยายามฝึกพูดกับคนที่พูดได้คล่อง หากเป็นทักษะอื่นๆ ให้ออกไปร่วมสังสรรค์กับคนที่เก่งในเรื่องนั้นๆและดูว่าพวกเขาทำในสิ่งที่พวกเขาทำได้อย่างไร ใช้เวลาในห้องแชทและฟอรัมออนไลน์ที่ผู้คนเข้าไปร่วมสนทนาในหัวข้อที่คุณต้องการเรียนรู้เพิ่มเติม


เหนือสิ่งอื่นใดโปรดจำไว้ว่า:
พวกเราส่วนใหญ่สามารถเรียนรู้ทุกสิ่งได้ด้วยความตั้งใจ แรงปรารถนา และความทุ่มเท

Share
.