อย่าลืมคู่ขาของนาม มันคือ เวิร์บ (V)

1783

ในบทแรกนั้น ครูได้สอนให้น้องๆเข้าใจแล้วว่า เวิร์บ หรือ V ก็คือ ‘คำกริยา’ นั่นเอง แต่เรื่องของ V นั้นมันช่างลึกล้ำเกินกว่าจะบรรยายได้จบในบทเดียว ดังนั้น เรามาค่อยๆ เจาะลึกเรื่องของ V กันทีละขั้น ทีละตอน จนกว่าจะครบตามหลักสูตรที่ควรรู้ไว้กันดีกว่า

อาจฟังดูสยิวกิ้ว ยังไงพิกล กับการเปรียบเปรยคำนามกับคำกริยา เป็นดั่งชายรักชาย แต่มันก็เป็นวิธีบรรยายอย่างตรงตัวที่สุดแล้ว เพราะว่า 

.

ที่ใดมี ‘นาม'(N) ที่นั่นต้องมี ‘เวิร์บ’(V) มาประกบตูดเสมอ 
.
.
.
.

เอาเป็นว่า ใครจะเปรียบคำ 2 ประเภทนั้น เป็นอะไรก็ช่าง จะเป็นดั่งสาวเสิร์ฟกับพ่อครัวก็ตามใจ (จะได้ฟังดูไม่กร้านโลก เกินไป) แต่สรุปแล้ว ก็เป็นที่รู้กันว่า…..

หากขาดตัวใดตัวหนึ่งไป มันก็เป็นไม่ได้แม้แต่ ‘วลี’
.
.
.
.

ธีมของเวิร์บ (V.) หรือกริยา เปรียบไปก็คือ ‘การเคลื่อนไหว’ หรือการกระทำของนักฟุตบอลแต่ละคน ซึ่งมีมากมายหลายหลากท่วงท่า ทั้งยืน นอน นั่ง เดิน เตะ ศอก เข่า ถีบ จิกหัว สไลด์ เอาหัวโขก ยิ้มข่ม ถ่มน้ำลาย ฯลฯ เป็นต้น 

ตัวอย่างเช่น

The rain เป็นสายฝนเฉยๆ แต่หากฝนจะตก ต้องเติม V นั่นคือคำว่า ‘ตก’ เข้าไปด้วย

กลายเป็น The rain falls 


ปล. หากนามที่อยู่ข้างหน้า นับไม่ได้ หรือเป็นนามเอกพจน์แล้วล่ะก็…. V จะต้องเติม s ด้วย (เรื่องนี้อาจดูเป็นเรื่องเล็กๆ แต่สำคัญมากนะครับ ทั้งในหลักการพูดและการเขียน)

A cat เป็นแค่เจ้าแมวเหมียว ถ้าอยากเฟี้ยว ต้องใส่ V อะไรสักอย่าง เช่น ถ้าอยากให้เจ้าแมวเดิน ก็กลายเป็น A cat walks

The children ฟังดูเด็กๆห้วนๆเกินไป ลองใส่ V อะไรสักอย่าง เช่น The children smile ก็แปลว่า เด็กๆเหล่านั้น ‘ยิ้ม’ 
.
.
.

  V ต่างๆที่ครูยกตัวอย่างมานั้น เรียกว่า V แท้ หรือกริยาแท้ ซึ่งในประโยคบอกเล่าทั่วไป ไม่จำเป็นต้องมี V ช่วย หรือกริยาช่วย (V. be/ have/ do) มาเพิ่มเติมอีก (เราจะพูดถึงเรื่อง V ช่วย ในบทต่อๆไปครับ…. ยาวปายยยๆ)

TIPS: ปกติแล้ว ถ้าเราเอากริยามาเติมปัจจัย er ข้างหลัง ก็จะกลายเป็นคำนามหรือผู้กระทำกริยานั้นๆทันที ลองดูตัวอย่างคำเหล่านี้ครับ

Play เล่น Player ผู้เล่น

Kick เตะ Kicker นักเตะ

Love รัก Lover คนรัก

น้องๆลองหา V มาเติม -er ดูบ้างครับว่า จะได้คำที่ออกมาฟังดูคุ้นๆหูบ้างมั้ย 

….แต่จำไว้ว่า ถ้าเป็นคำที่ออกเสียงสั้น ต้องเติมตัวสะกดเข้าไปอีกตัวด้วยนะจ้ะ เช่น Set – Setter เป็นต้น (เรื่องนี้ก็สำคัญ)

คำกริยาบางคำ หากเติม -ing เข้าไป ก็จะกลายเป็นคำนามได้เหมือนกัน แต่จะเป็นคำนามที่แปลว่า การ…… หรือ ความ……… เช่น

Play เล่น – Playing การเล่น
Kick เตะ – Kicking การเตะ





*สำหรับใครที่กำลังมองหาคอร์สเรียนออนไลน์ สามารถกดปุ่ม inbox มุมขวาล่าง ทักสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้เลยนะครับ*








คำถามทดสอบ:

1) เติมคำในช่องว่าง
  The sun _______ in the sky.

a. shine            
b.  shining          
c.  is shine        
d.  shines


2) เติมคำในช่องว่าง
  They _______ to drink together.

a.  liking          
b.  likes         
c.  like           
d.  wants 


3) เปลี่ยนคำว่า Run จากคำกริยาให้เป็นคำนาม

a.  Runner          
b.  Runer          
c.  Running         
d.  ถูกทั้ง a. และ c.




เฉลย

1. (ข้อ d.) เพราะหากมีประธานในประโยคเป็นคำนามเอกพจน์ กริยาต้องเติม s ด้วยครับ

2. (ข้อ c.) เพราะเป็นประโยคบอกเล่าทั่วไป และมีประธานเป็นพหูพจน์ กริยาไม่ต้องเติม s 

3. (ข้อ d.) เพราะ Run เป็นคำที่ออกเสียงสั้น จึงต้องเติมตัวสะกดท้ายเข้าไปอีกตัว ก่อนที่จะเติม -er/-ing 

Share
.