ประพันธสรรพนามหรือ Relative Pronouns ถูกใช้เพื่อเชื่อม clause หรือ phrase กับคำนามหรือสรรพนาม ซึ่ง clause (อนุประโยคนั้น ๆ จะทำหน้าที่ขยายคำนามค่ะ ซึ่งหลาย ๆ คนอาจจะสับสนการใช้ relative pronouns อยู่บ้าง วันนี้ครูณิชาเรียบเรียงสรุปนี้มาฝากกันค่ะ
Relative pronouns ที่พบบ่อย ๆ ทั่ว ๆ ไป คือ who, whom, whose, which, และ that และบางครั้งอาจจะพบเจอการใช้ when และ where ในฐานะของประพันธสรรพนามเหมือนกันค่ะ
การใช้ประพันธสรรพนาม
Relative pronouns ใช้วางข้างหลังคำนามที่มันขยายโดยตรง ตัวอย่าง
- I discussed it with my brother, who is a lawyer.
- I spent two hours talking to Kaz, whom I’d met only once before.
- That’s the man whose house has burned down.
- Did you see the letter which came today?
- They’ve got a machine that prints names on badges.
จากตัวอย่างนั้นจะเห็นว่าคำนามที่ถูกทำให้เป็นตัวเอียงไว้เป็นประธานเดียวกับประโยคหลังโดยเชื่อมด้วย relative pronouns ที่เป็นตัวหนา ซึ่งตรงนี้จะเรียกอีกอย่างว่า Adjective clause คือนับตั้งแต่ relative pronouns ไปจนถึงกริยา-กรรม หรือส่วนขยายในประโยคหลังเป็น clause ที่ทำหน้าที่ขยายคำนามที่อยู่ข้างหน้านั่นเอง
บางครั้งเราก็อาจจะพบเจอการใช้ when, where อยู่บ้าง ตัวอย่าง
- She remembered the day when Paula had first arrived.
- I want to visit the island where my grandma was born.
ในกรณีนี้ก็คือการใช้ when และ where เชื่อมประโยคหลังที่ทำหน้าที่ขยายสถานที่ หรือเวลาที่อยู่ข้างหน้าค่ะ
อนุประโยคแบบเจาะจงและไม่เจาะจง
การใช้ relative clauses ที่เจาะจง (ข้อมูลขยายเป็นการชี้เฉพาะ) นี้ไม่สามารถจะละ clauses ที่ทำหน้าที่ขยายเหล่านี้ทิ้งไปได้เพราะจะทำให้ความหมายนั้นไม่ชัดเจนหรือมีความแตกต่างกันออกไปได้ค่ะ ตัวอย่าง
- This is the dog that was hit by a car.
- I don’t like people who interrupt me.
จากทั้งสองตัวอย่างนี้ ถ้าเราตัด clause หรืออนุประโยคที่ทำหน้าขยายออกความก็จะแตกต่างกันออกไป ตัวอย่างการบอกว่า “I don’t like people” ก็แตกต่างจากการบอกว่า “I don’t like people who interrupt me.” (คือเป็นการขยายว่าไม่ชอบคนแบบไหน ไม่ใช่ไม่ชอบคนเลย)
ข้อควรจำ อนุประโยคที่ทำหน้าที่ขยายจะคำนานหรือสรรพนามที่อยู่ข้างหน้าให้มีความชัดเจนยิ่งขึ้น (ตัดไปแล้วจะเสียเนื้อความหรือความหมายไม่ชัดเจนต่างจากเดิม) เราจะไม่ใช้เครื่องหมายวรรคตอน เว้นเสียแต่ว่าอนุประโยคไม่เจาะจงชี้เฉพาะที่ทำหน้าที่ขยายนั้นเป็นอนุประโยคที่ขยายข้อมูลเพิ่มเติมเฉย ๆ (เป็นข้อมูลเสริม) จะมีเครื่องหมาย comma กั้น ตัวอย่าง
- This painting, which I adore, is worth over a million dollars.
- The teacher, who was about to retire, began writing her memoirs.
ทั้งสองประโยคนี้
สังเกตได้ว่าการใช้อนุประโยคขยายที่ไม่เจาะจงจะมีการใช้ comma แบ่งส่วนออกจากประโยคชัดเจนเป็นการสื่อให้รู้ว่าเป็นข้อมูลเสริมเฉย ๆ สามารถตัดทิ้งได้ค่ะ
ข้อควรจำการใช้ Who, That, และ Which
หลาย ๆ คนจะสับสนการใช้ who, that, และ which อยู่บ้าง ให้จดจำง่าย ๆ ว่า who ใช้ขยายคน และ that ใช้ขยายกับสิ่งของ หรืออะไรก็ตามที่ไม่ใช่คน ตัวอย่าง
- I like the girl who runs fast.
- I like the dog that does tricks
- I like the clock that chimes the hour.
และข้อแตกต่างระหว่างการใช้ which และ that คือการใช้ which จะเป็นอนุประโยคขยายแบบไม่ชี้เฉพาะ คือเสริมข้อมูลเข้ามา (สามารถตัดทิ้งได้) ในขณะที่อนุประโยคที่ใช้ that จะเป็นอนุประโยคแบบเจาะจงชี้เฉพาะ (ข้อมูลที่ให้มาระบุชัดว่าอันไหน สิ่งไหน) และไม่สามาถตัดทิ้งได้เพราะจะทำให้ความหมายต่างจากเดิม ตัวอย่างเช่น
- The cat, which is very old, took a nap.
- The cat that is very old needs to see the vet today.
สรุปก็คือการใช้ which จะเสริมข้อมูลในส่วนที่ไม่มีความสำคัญมากนักในประโยคเป็นข้อมูลเพิ่มเติม ที่สามารถละทิ้งได้และจะใช้ comma แบ่งประโยคชัดเจน ในขณะที่ that นั้นเป็นอนุประโยคที่สำคัญในการทำหน้าที่ขยายโดยทำให้คำนามข้างหน้ามีความหมายชี้เฉพาะเจาะจงชัดเจนว่าอันไหนสิ่งไหน ซึ่งจะไม่ต้องใช้ comma กั้นค่ะ
แต่ครูณิชาย้ำอีกครั้งนะคะ ถ้าใช้กับคนเนี่ยไม่ว่าจะเป็นข้อมูลเสริมหรือเป็นข้อมูลที่สำคัญในการใช้เจาะจงคำนาม (คน) ที่อยู่ข้างหน้าเราก็จะใช้ who เสมอไม่ใช้ that เด็ดขาดนะ ตัวอย่าง
- The woman, who is very old, took a nap.
- The woman who is very old needs to see the doctor today.
จะเห็นได้ว่าสองกรณีมีทั้งข้อมูลเสริม และข้อมูลที่สำคัญในการชี้เฉพาะคำนาม (คน) แตกต่างกันแค่ใช้ comma กั้นหรือไม่ใช้ comma กั้นหรือแบ่งประโยคค่ะ ซึ่งในกรณีที่เป็นข้อมูลชี้เฉพาะที่สำคัญจะไม่สามรถตัดออกได้ (ความหมายจะเปลี่ยนไปนิดหน่อย)
การใช้ relative pronouns หรือประพันธสรรพนามจะช่วยให้การเขียน (หรือการพูด) ของเรามีความหมายสั้นกระชับและมีความชัดเจนได้ว่าใครหรือสิ่งใดที่กำลังกล่าวถึงนั้นคือคนไหนหรือสิ่งไหนที่เราหมายถึงโดยใช้อนุประโยคมาขยายนั่นเองค่ะ สำหรับการใช้อนุประโยคนี้ไม่ยากอย่างที่หลาย ๆ คนคิดเลย ลองจดจำสรุปนี้ไปศึกษาเพิ่มเติมกันดูนะคะ สำหรับวันนี้ครูณิชาขอตัวลาไปก่อนค่า 😊