Verb to be เป็นเรื่องที่ไม่ยาก แต่หลาย ๆ คนอาจจะยังสับสนอยู่บ้าง วันนี้ครูณิชาเรียบเรียงสรุปการใช้ verb to be มาฝากค่ะ รับรองว่าเข้าใจง่ายแน่นอน พร้อมแล้วไปดูกันเลย
หลาย ๆ คนคงจะทราบแล้วว่า verb to be มีความหมายในเชิง เป็น อยู่ คือ แต่ในหลาย ๆ โครงสร้างตัว verb to be นี้ก็ทำหน้าที่เป็นกริยาช่วยให้โครงสร้างนั้น ๆ สมบูรณ์โดยไม่ได้ทำให้เกิดความหมายอะไรพิเศษ
รูปของ verb to be
Be หรือ verb to be ถือว่าเป็นกริยาไม่ปกติ (irregular verb) ซึ่งจะมีการเปลี่ยนรูปหลายรูป เช่น
Present: is, am, are โดย He, She, It, คำนามเอกพจน์ ใช้ is และ You, We, They, คำนามพหูพจน์ ใช้ are ส่วน I ใช้ am
Past: ประธานเอกพจน์ใช้ was และประธานพหูพจน์รวมถึง You ใชเ were
จะมีรูป -ing
เป็น being
มีรูป past participle เป็น been
การใช้ verb to be
Verb to be สามารถเป็นทั้งกริยาหลักและกริยาช่วยได้ค่ะ
การใช้ verb to be ในกรณีที่เป็นกริยาหลักจะใช้กับ
คำนาม เช่น อาชีพ,
ชื่อคน ในความหมาย เป็นอะไร เป็นใคร ตัวอย่าง
She is a teacher.
She is Jen.
คำคุณศัพท์ เช่น สูง, รวย, สัญชาติ, (ตรงนี้ verb to be อาจไม่ต้องแปล ทำหน้าที่ linking verb เฉย ๆ) ตัวอย่าง
He is rich.
He is tall.
He is American.
คำวิเศษณ์บอกสถานที่ เช่น at home, at the hotel ตัวอย่าง
I’m at home.
I’m in the class room.
ใช้กับการบอกอายุ ตัวอย่างเช่น
I’m twenty-one years old.
She’s seven years old.
ใช้กับประธาน there เช่น there
is / there are ในความหมายว่า
มี… อยู่ที่… ตัวอย่างเช่น
There are three students in the classroom.
มีนักเรียนสามคนอยู่ในห้องเรียน
การใช้ verb
to be เป็นกริยาช่วย
จะใช้ในโครงสร้างดังต่อไปนี้
Continuous: verb to be + Ving
Passive voice: verb to be + V3
ตัวอย่าง
She was running through the forest while the strangers were running
behind her.
The thief was caught last night. เป็นต้น
Verb to be เหมือนจะใช้ได้หลาย ๆ สถานการณ์ แต่ถ้าเราจำกัดกลุ่มคำที่ต้องใช้กับ verb to be จะทำให้การใช้ verb to be นั้นแคบลงได้ค่ะ เช่น การใช้กับคำคุณศัพท์ คือทำหน้าที่เหมือน linking verb ดั่งที่ครูณิชาได้กล่าวไว้ข้างต้น นั่นก็หมายถึงคำต่าง ๆ ที่เป็นคุณศัพท์ไม่ว่าจะเป็น สูง ใจดี เตี้ย อ้วน หล่อ ก็ใช้กับ verb to be ได้หมดนั่นเองค่ะ
เป็นอย่างไรบ้างคะกับสรุปการใช้
verb to be ที่ครูณิชาเรียบเรียงไว้ให้
หวังว่าจะช่วยให้หลาย ๆ คนคลายสงสัยได้นะ สำหรับวันนี้ครูณิชาขอตัวไปก่อนจ้า
พบกันใหม่บทความหน้าค่ะ 😊