หลาย ๆ คน คงได้เรียนภาษาอังกฤษกันมาบ้างแล้ว มากมายหลายที่ ทั้งตำรา ทั้งเว็บไซต์ต่าง ๆ แต่ทำไมยังไม่เก่งอังกฤษกันเสียที วันนี้ครูณิชามีเทคนิคการเรียนภาษาอังกฤษมาฝากค่ะ รับรองว่า 3 – 6 เดือนก็ควรคล่องในระดับหนึ่งแล้ว พร้อมแล้วติดตามอ่านบทความนี้กันเลยค่ะ
เทคนิคการเรียนนี้ครูณิชาได้นักเทคนิคจากการอ่านหนังสือแนวพัฒนาตนเองจากหลาย ๆ เล่มมารวบรวมไว้ด้วยกัน โดยเพิ่มเติมเทคนิคแนวทางการเรียนภาษาอังกฤษ (หรือใครจะนำไปประยุกต์กับภาษาใด ๆ ก็ได้นะคะ) เข้าไว้ด้วยกันค่ะ
“กัดไม่ปล่อย”
สำหรับคำนี้ครูณิชาเริ่มกลับมาได้ยินอีกในช่วงหลัง ๆ มานี้ ในกระแสที่หลาย ๆ คนเริ่มสนใจการเพิ่มทักษะต่าง ๆ ให้กับตนเอง การกัดไม่ปล่อย มีความหมายไปในทางที่หากเราจะทำอะไรต้องทุ่มเทกับมัน ไม่ท้อ ไม่หยุด หรือถอยหนีง่าย ๆ เรียกได้ว่าแลกกันไปเลยค่ะ No pain, No gain อย่างแท้จริง หลาย ๆ คนพอเริ่มทำอะไรไปสักระยะ เช่นการจะเริ่มเรียนภาษาอังกฤษอย่างจริงจังไปสักพัก ก็เริ่มมีข้ออ้าง (excuse) อาทิ ไม่มีเวลา, ไม่สบาย, ติดธุระบ่อย ฯลฯ เป็นต้น การฝึกภาษาอังกฤษนั้น ไม่ได้อยู่กับเวลาและสถานที่เลยค่ะ เราอาจจะฟัง podcast ภาษาอังกฤษระหว่างเดินทาง หยิบหนังสือพิมพ์ภาษาอังกฤษ หรือหนังสือนอกเวลาภาษาอังกฤษมาอ่านบ้างตามโอกาส หรือการลงเรียนเสริมที่มีอายุการเรียนยาว ๆ เพื่อปรับแผนการเรียนให้เข้ากับชีวิตและกิจวัตรของตนเองเช่นคอร์สเรียนของ Engnow.in.th ทีให้เราเรียนได้ถึงหนึ่งปีกันเลย แบบนี้ถ้าจะบอกไม่มีเวลาทั้งปีเลยก็คงไม่ได้ใช่มั้ยคะ
“ทฤษฎี 21 วัน สู่ความเคยชิน”
ทฤษฎี 21 วันถูกนำมาเผยแพร่เป็นที่รู้จักโดยคุณหมอแม็กซ์เวลหมอศัลยแพทย์ ในช่วงปี 1950 โดยเขาพบจากผู้ป่วยที่ต้องศัลยกรรมพลาสติกที่ใบหน้าต้องใช้เวลาประมาณ 21 วันถึงจะยอมรับและคุ้นชินกับใบหน้าใหม่ของตนเองได้ ทีนี้ทฤษฎีนี้ก็ได้ถูกอ้างอิงในการฝึกฝนเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ ว่า อะไรก็ตามที่เราทำเป็นประจำ (เช่นคนไข้ส่องกระจกดูใบหน้าตนเองจนคุ้นเคยกับใบหน้าใหม่) อย่างต่อเนื่องสัก 21 วันจะกลายเป็นอุปนิสัย เราจะได้อะไรจากเรื่องนี้? ก็คือถ้าเราเริ่มฝึกฝนเรียนรู้ภาษาอังกฤษอย่างต่อเนื่องสักประมาณ 21 วัน จะทำให้เราทำสิ่งเหล่านั้นแบบไม่ต้องฝืนนั่นเองค่ะ เช่นเริ่มท่องศัพท์ ฟัง podcast, ดูภาพยนต์ English Dubbed (เปิด subtitle อังกฤษ) ทุกวันเป็นเวลา 21 วันต่อเนื่อง วันต่อ ๆ มาเราก็จะรู้สึกว่านี่เป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันแล้วนั่นเอง และทักษะอะไรที่ต้องอาศัยความชำนาญ เช่น การพูดหรือการเขียน หรือการหัดอ่าน หัดออกเสียงด้วย เส้นประสาทใหม่ ๆ ในสมองเราจะสร้าง neural pathway ทางเดินเส้นประสาทใหม่ ๆ ที่จะทำให้ทักษะนั้นคล่องแคล่วขึ้นมาได้ค่ะ
“กินกบตัวนั้นซะ”
ข้อนี้สำหรับคนที่ชอบมีข้ออ้างบ่อย
ๆ ในการผัดวันประกันพรุ่ง ให้เราทำสิ่งที่รู้สึกยากเย็นก่อน หรือให้เราทำอะไรที่มันฝืนมาก
ๆ ก่อน ข้อนี้ใครที่เห็นภาษาอังกฤษเป็นยาขมล่ะก็แนะนำให้ซดมันซะ เริ่มเลยค่ะตั้งแต่วันนี้
ตอนนี้ เดี๋ยวนี้ จริง ๆ วิธีการนี้ใช้กับสิ่งที่เรารู้สึกยาก ไม่ค่อยโอเคเท่าไหร่
แต่พอเราทำไปเรื่อย ๆ เราจะพบว่า หลังจากที่เราทำอะไรที่มันแย่ ๆ จบสำเร็จเสร็จสิ้นไปแล้วนั้น
จะเหลือแต่สิ่งง่าย ๆ ไว้ให้เรา ตรงนี้ครูณิชานำมาประยุกต์ใหม่นิดหน่อยเป็นการให้รางวัลตนเองดูค่ะ
เอาล่ะ พอเราเข้าใจเรื่อง Tenses ทั้งหมดแล้ว
มื้อนี้จะกินอาหารอร่อย ๆ หรือซื้อของขวัญชิ้นเล็ก ๆ ให้ตนเองสักชิ้น แม้ว่าเราจะเป็นคนซื้อให้ตัวเองแต่ว่าผลลัพธ์ทางจิตวิทยานั้นส่งผลมากเลยค่ะ
ทำสิ่งที่ยาก ๆ แล้วให้รางวัลแก่ตนเองเป็นการเสริมสร้างแรงใจในการกระทำสิ่งนั้น ๆ
ต่อไป โดยไม่ฝืน และจะรู้สึก Happy ขึ้นด้วยค่ะ
“กฎ 10,000
ชั่วโมง”
วิธีนี้ถ้าดูตัวเลขอาจจะรู้สึก
โหยยยยย (โหยยาวไปดาวอังคาร) เพราะมันเยอะมาก ๆ หนึ่งหมื่นเลยนะ อันที่จริงเราไม่ต้องนับหรือกังวลกับเวลามากนัก
(คนเรามีชีวิตประมาณ 525,600 ชั่วโมง
เวลา 10,000 ชั่วโมงคือราว
ๆ 1.9%
ของทั้งหมดค่ะ) ครูณิชานำมาประยุกต์ให้ใหม่ภายใต้กฎเดิม ว่าจริง ๆ คนเราถ้าอะไรอย่างต่อเนื่องไม่ขาดเลย
(กลับไปทฤษฎี 21 วัน) ครูณิชาให้
180 ชั่วโมงในการเรียนภาษาเท่านั้นค่ะ
(ราว ๆ 2 ชั่วโมงต่อวัน
ระยะเวลา 3 เดือน) บางคนอาจจะใช้เวลาเยอะกว่านี้
หรือน้อยกว่านี้เสียด้วยซ้ำ ที่สำคัญอย่าเว้นแม้เพียงวันเดียว และอย่ามีข้ออ้าง ในช่วง
1-2 เดือนแรกยังไม่อยากให้เว้นค่ะ
ปรับเปลี่ยนจำนวนชั่วโมงต่อวันได้ตามกิจวัตร และการดำเนินชีวิตของตนเอง แต่เน้นหลักสำคัญที่ครูณิชาเน้นคือ
ต่อเนื่องอย่างไม่มีข้ออ้างใด ๆ (ก็วนกลับไปข้อแรกอีก กัดไม่ปล่อย)
“จัดตาราง-วางแผนการเรียน”
สำคัญมากกกกกกกก
อันนี้บอกเลย (ยืดหยุ่นได้ แต่ควรมี) พร้อมแล้วเปิด Google Spreadsheet หรือ MS Excel ในเครื่องได้เลย (ใครใช้มือถืออย่างเดียวแนะนำพวก
To-do list ค่ะ) วางแผนการฝึกในแต่ละวัน
การเข้าเรียนคอร์สที่ลงทะเบียนไว้ การวางแผนที่ดีจะช่วยให้การเรียน มีรูปแบบแนวทางที่เป็นไปได้มากยิ่งขึ้น
โดยอาจจะแบ่งความสำเร็จ (achievement)
เป็นรายสัปดาห์ รายเดือน สามเดือน และหกเดือนร่วมด้วย โดยการวัดผลอาจจะเป็นข้อสอบวัดระดับที่มาตรฐานที่หาได้ทั่ว
ๆ ไปตามเว็บไซต์ในการเรียนภาษาอังกฤษค่ะ การกำหนดแผนการตารางเรียนนั้นควรกำหนดวันที่เราจะได้พักไว้ด้วยนะคะ
เพื่อให้การเรียนผ่อนคลายไม่ตึงเกินไปนักค่ะ … การวางแผนอาจจะทำเป็นตารางรายวันไว้ด้วย
ว่าวันนึงเรามีกิจกรรมที่ต้องทำอะไรบ้าง ประกอบกับตารางรายสัปดาห์ว่าวันไหนจะเรียน
จะทบทวน หรือฝึกเรื่องไหน และจะพักวันไหน (ช่วงสามสัปดาห์แรกอยากให้ทำต่อเนื่องก่อนค่ะแล้วค่อยพักบ้างในสัปดาห์ต่อ
ๆ ไป)
ทั้งหมดนี้เป็นวิธีการเรียนภาษาอังกฤษที่ใช้ได้จริง และควรเริ่มลงมือทำทันที หากยังกังวลอยู่ว่าจะเริ่มเรียนอะไรก่อนก็แนะนำให้เป็นแกรมม่าพื้นฐานค่ะ พวก adjective, verb, tense, conjunction และคำศัพท์ทั่ว ๆ ไปที่พบได้ในชีวิตประจำวันของตนเองค่ะ แล้วค่อยขยายคำศัพท์ไปเป็นพวกแนว Academic มากยิ่งขึ้นค่ะ
วันนี้ครูณิชาขอตัวลาไปก่อนจ้า พบกันใหม่บทความหน้าค่ะ