หากเรารู้จักหน้าที่และโครงสร้างในประโยคนี้ จะทำให้เราสื่อสารด้วยประโยคพื้นฐานได้ โดยไม่ยาก แม้บางครั้งภาษาอังกฤษจะมีความซับซ้อน หรือโครงสร้างที่ซับซ้อนอยู่บ้าง แต่โดยทั่ว ๆ ไปก็จะเกิดจากโครงสร้างประโยคพื้นฐานง่าย ๆ นี้ก่อนค่ะ
องค์ประกอบของประโยคจะมีเพียง ประธาน กริยา กรรมตรง กรรมรอง ส่วนเติมเต็ม
ภาคประธาน
หมายถึงส่วนของประธานทั้งหมด
เช่น คน, สถานที่, สิ่งของ ที่เป็นผู้กระทำกริยานั้น ๆ ของประโยค โดยประธานจะเป็นคำนามเดี่ยว
ๆ หรือมีส่วนขยายอื่น ๆ จะเป็นวลี หรืออนุประโยคก็ได้
ตัวอย่างเช่น
A man
A woman
The white cat เป็นต้น
ภาคแสดง
ภาคแสดงคือรวมตั้งแต่กริยา
กรรม ส่วนขยาย หรือส่วนเติมเต็มของประโยคนั้น ๆ อาจจะมีส่วนขยายอื่น ๆ
เป็นองค์ประกอบเพิ่มเติมได้ ตัวอย่าง
A man is standing under the tree.
A man เป็นประธาน
กระทำกริยา is standing กำลังยืน
มีส่วนขยายเป็น under the tree.
The man builds a white house.
The man เป็นประธาน กระทำกริยา
builds และกรรมคือ a
white house เป็นต้น
กรรมตรง
คือกริยาที่เป็นผู้รับผลของการกระทำนั้นโดยตรง
เรียกว่า กรรมตรง ตัวอย่าง
The man builds a house.
The man builds it.
a house/it เป็นสิ่งที่โดน
a man สร้าง (builds) นั่นเอง
กรรมรอง
คือกรรมที่มักจะเป็นคน
คือเป็นผู้รับประโยชน์จากกริยานั้น ๆ ตัวอย่างThe man builds his family a house.
The man builds them a house.
ประโยคนี้คือชายคนนั้นสร้างบ้านให้กับครอบครัวของเขา
ตรงนี้ไม่ได้แปลว่าครอบครัวของเขาถูกสร้าง แต่เป็นผู้ได้รับประโยชน์คือชายคนนั้นสร้างบ้านให้ค่ะ
ส่วนเติมเต็มประธาน
(ขยายประธาน)
เป็นคำที่ใช้ขยายหรือเติมเต็มเด่นชัดให้กับประธานโดยจะใช้กริยาเป็น
linking verbs หรือกริยา verb
to be เป็นต้น
The man is a good father.
ชายคนนั้นเป็นพ่อที่ดี คือ พ่อที่ดีเป็นการขยายความเด่นชัดว่าชายคนนั้นเป็นใครค่ะ
This soup tastes delicious.
น้ำซุปนี้มีรสชาติอร่อย คำว่าอร่อย ขยายคุณลักษณะซุปนี้นั่นเองค่ะ
ทั้งหมดนี้เป็นตัวอย่างประโยคง่าย ๆ เป็นโครงสร้างประโยคพื้นฐานที่ไม่ยาก สามารถลองฝึกแต่งประโยค ฝึกเขียน ฝึกพูดกันได้ง่าย ๆ แต่มีข้อแม้ว่าต้องรู้จักคำกริยานั้น ๆ ก่อนค่ะว่าต้องการกรรม หรือต้องการส่วนขยาย ส่วนเติมเต็มกันแน่เพื่อไม่ให้ใช้คำผิดประเภทค่ะ
วันนี้ครูณิชาขอตัวไปก่อนค่า พบกันใหม่