Adverb clause หรือมีอีกชื่อว่า adverbial clause คืออะไร?
คืออนุประโยคที่รวมตัวกันเพื่อทำหน้าที่ขยายคำกริยาหลักของประโยค แต่ถ้าจะพูดกันจริงๆแล้ว adverb clause ก็คือ dependent clause นั่นเอง
พูดถึง adverb clause ก็งงแล้ว ยังมี dependent clause มาอีก มาทำความเข้าใจ clause กันก่อน
Main clause หรือ independent clause คือ ประโยคที่มีประธานและกริยาหรืออาจจะมีกรรมหรือส่วนขยายต่อท้ายก็ได้ และที่สำคัญคือเป็นประโยคสมบูรณ์ในตัวเอง อยู่เดี่ยวๆได้โดยไม่ต้องพึ่งใคร เช่น
I’m taking a leave today. “ฉันจะลาหยุดวันนี้”
ประโยคนี้อ่านแล้วเข้าใจได้ทันที ความหมายสมบูรณ์ในตัวของมัน
Dependent clause คือประโยคที่ต้องพึ่งพาอาศัยประโยค main clause เพื่อมาทำให้ความหมายสมบูรณ์ ไม่อย่างนั้นเราจะไม่เข้าใจ เพราะความหมายครึ่งๆกลางๆ เช่น
Because I’m sick. “เพราะฉันป่วย”
อ่านแล้วก็ไม่จบ ค้างๆคาๆว่า ป่วยแล้วยังไง? ป่วยแล้วเป็นยังไงต่อ? แต่ถ้าเอาไปรวมกับประโยคหลัก
I’m taking a leave today because I’m sick. ฉันลาหยุดเพราะไม่สบาย
(ประโยคนี้ได้ใจความสมบูรณ์เลย)
สรุปคือ dependent clause ไม่สามารถอยู่ลำพังได้ ต้องไปอาศัยประโยคหลักเขาอยู่ด้วย จากที่บอกไปแล้วข้างต้น dependent clause ก็คือ adverb clause นั่นเอง เพราะฉะนั้น dependent clause มีลักษณะอย่างไร adverb clause ก็เหมือนกัน ลักษณะของ adverb clause หลักๆ มีดังนี้
1. adverb clause มักจะขึ้นต้นด้วย subordinating conjunction (คำเชื่อม) ซึ่งจะแยกย่อยไปตามกรณีได้อีก ตัวอย่างของ subordinating conjunction แยกตามประเภทก็ตามนี้
adverb clause บอกเวลา : when, while, before, after, whenever, as, until, as soon as, since, etc.
adverb clause บอกสถานที่ : where, wherever
adverb clause บอกลักษณะอาการ : as, as if, as though
adverb clause บอกเหตุผล : because, as, since, whereas, seeing that, due to the fact that
adverb clause แสดงความขัดแย้ง : although, though, even though, however, despite the fact that, in spite of the fact that
adverb clause แสดงเงื่อนไข : if, unless, if only, supposing (that), providing (that)
2. adverb clause จะประกอบด้วยประธานและกริยา เหมือนประโยคทั่วไป แต่ยังไม่ใช่ประโยคสมบูรณ์
3. adverb clause จะอยู่โดดๆ ไม่ได้ เพราะใจความจะไม่สมบูรณ์ พูดง่ายๆคือ ไม่รู้เรื่องนั่นเอง
ตัวอย่าง adverb clause
As this is the first time she has visited Bangkok, she is very excited. เนื่องจากนี่เป็นครั้งแรกที่เธอได้มาเที่ยวกรุงเทพฯ เธอเลยรู้สึกตื่นเต้น
ส่วนที่ขีดเส้นใต้เป็น adverb clause ที่ขึ้นต้นด้วย as เพื่อแสดงความเป็นเหตุเป็นผล และแน่นอนว่าถ้าตัดประโยคด้านหลังออกนี่ไม่รู้เรื่องแน่นอน
Call me as soon as you arrive there. โทรหาด้วยทันทีที่ถึงที่นั่น