หลักการใช้ “So do I” ฉันก็ด้วยเหมือนกัน

31661

การเขียนคล้อยตามความคิดเห็นหรือประโยคที่พูดมาก่อนนั้นขอแบ่งออกเป็น 2 กรณี

  • คล้อยตามประโยคที่เป็นบอกเล่า
  • คล้อยตามประโยคที่เป็นปฏิเสธ

1. หลักการใช้ประโยคคล้อยตามประโยคบอกเล่า

.

โครงสร้างที่สามารถใช้ได้คือ So + กริยาช่วย + ประธาน เช่น

A: I love cooking.

B: So do I. (มีความหมายเหมือนกับ I love cooking, too)

A: I have already finished my homework.

B: So have I. (เหมือนกับ I have finished, too.)

I can drive. —- So can I.

I must go now. —– So must I.

I am happy today —— So am I.

*สังเกตว่า กริยาช่วยจะไม่ใช่แค่ do อย่างเดียว จะเป็น is, am, are, was, were, have, has, had, can, could, should, will, would, must, etc. ก็ได้ทั้งนั้นขึ้นอยู่กับ tense ในประโยคก่อนหน้า

* ประธานก็อาจจะไม่ใช่แค่ I อย่างเดียว จะเปลี่ยนเป็นสรรพนามตัวอื่นหรือชื่อคนอื่นๆ ก็ได้เช่น

A: You look beautiful today. วันนี้คุณดูสวยจัง

B: So do you. คุณก็ (สวย) เหมือนกัน

A: I have to attend economics class. ฉันต้องเข้าเรียนคาบเศรษฐศาสตร์

B: So does John. จอห์นก็เหมือนกัน

** ถ้าเป็นภาษาพูดก็อาจจะได้ยินบ่อยว่า Me too ซึ่งก็ใช้ได้เหมือนกัน

2. หลักการใช้การคล้อยตามประโยคแบบปฏิเสธกัน

จะเอาคำว่า neither หรือ nor กับ either เข้ามาช่วย โครงสร้างเป็นแบบนี้

Neither/Nor + กริยาช่วย + ประธาน เช่น

A: I don’t understand Chinese. ฉันไม่รู้ภาษาจีน

B: Neither do I. ฉันก็ไม่รู้เหมือนกัน

 A: I can’t swim.

B: Nor can I.

** ข้อสังเกตนะคะ หลัง neither จะไม่มีรูปปฏิเสธแต่จะให้ความหมายเป็นปฏิเสธ

สำหรับการใช้ either นั้นจะใช้กับประโยคปฏิเสธ เช่น

A: I don’t understand Chinese.

B: I don’t understand either.

A: I am not happy.

B: I am not happy either.

การคล้อยตามประโยคปฏิเสธแบบนี้ในภาษาพูดก็อาจจะพูดสั้นๆ ก็ได้ว่า Me neither เช่น

A: I don’t like coffee.

B: Me neither.

Share
.