หลักการ stress (ลงเสียงหนัก) ในภาษาอังกฤษ

    39720

    เราพอจะรู้กันมาบ้างว่า…ภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่มีการลงเสียงหนักเบาที่คำหรือประโยค แต่ภาษาไทยจะเน้นทุกคำต่างกันแค่ที่วรรณยุกต์เท่านั้น ดังนั้นจึงเป็นเรื่องยากสำหรับคนไทยในการออกเสียงภาษาอังกฤษ

    การ stress เสียงมีความสำคัญมากเพราะบางคำ ถ้าเราลงเสียงหนักผิดที่ ก็จะกลายเป็นอีกความหมายนึงเลย เช่น คำว่า present ถ้าเป็นคำนามที่แปลว่า ของขวัญ จะต้อง stress ตรงพยางค์แรก (’pre.sent) แต่ถ้าเป็นกริยาที่แปลว่า นำเสนอ ต้อง stress ตรงคำว่า sent (pre.sent’)

    .

    ในภาษาอังกฤษมีคำศัพท์นับไม่ถ้วน แล้วจะมีวิธีอย่างไรในการจดจำว่าคำไหนออกเสียงเน้นหนักที่พยางค์ไหน ง่ายๆ เลยเช็กจากในพจนานุกรมแต่ถ้าคำไหนเราได้ใช้บ่อยๆ เราก็จะรู้ได้เอง แต่ก็มีหลักเกณฑ์ที่บอกเราได้คร่าวๆ ว่า เราจะต้อง stress ที่คำไหน มาดูกันเลย

    1. คำที่มีสองพยางค์ ส่วนใหญ่จะเน้นหนักที่พยางค์แรก เช่น

    ’ty.pist                             ’tooth.paste           ’hus.band

    ’doc.tor                            ’den.tist                 ’de.sert

    ’ans.wer                           ’sub.ject

    แต่คำบางคำเป็นได้ทั้งคำนามและคำกริยา ถ้า stress ที่พยางค์แรก จะเป็นคำนาม แต่ถ้า stress ที่พยางค์ที่สองจะเป็นคำกริยา เช่น

    ’con.duct (n.)         การจัดการ      con.’duct (v.)   จัดการ, นำ

    ’re.cord (n.)            ข้อความที่บันทึกไว้   re.’cord(v.)   จดบันทึก

    ’pro.gress (n.)        ความก้าวหน้า            pro.’gress(v.)   ก้าวหน้า

    ’pro.duce (n.)         ผักผลไม้สด              pro.’duce (v.) ปลูก,ผลิต

    คำกริยาหรือคุณศัพท์ที่มีสองพยางค์อื่นๆ ให้ stress ที่พยางค์ที่สองที่เป็นรากศัพท์ เช่น

    ap.’pear                           ex.’plain

    be.’lieve                          for.’get

    re.’serve                          com.’plete

    แต่คำต่อไปนี้ รากศัพท์อยู่ที่พยางค์แรก ก็ต้อง stress ที่พยางค์แรก เช่น

    ’of.fer                               ’fol.low

    ’ac.tive                             ’hon.nest

    2. คำที่มีสามพยางค์ขึ้นไป ควรดูว่ามีคำลงท้ายอย่างไร

    ถ้าลงท้ายด้วย -al, -ate, -ble, -lly, -lar, -ment, -y, -tyจะลงเสียงหนักที่พยางค์ที่ 3 นับจากท้ายเช่น

    co.‘no.mi.cal           ‘ca.pa.ble           ‘ac.tual.ly

    ถ้าลงท้ายด้วย -ian, -ic, -ish, -sion, -tion, -tive, -tor, -terจะลงเสียงหนักที่พยางค์ที่ 2 นับจากท้ายหรือพยางค์หน้า suffix เหล่านี้ค่ะ เช่น

    e.co.‘no.mic           es.‘tab.lish             so.’lu.tion

    con.’duc.tor               te.le.’vi.sion

    2. การ stress คำที่เป็นคำประสม

    Noun + Noun (2 หรือ 3 พยางค์) จะ stress ที่พยางค์แรก เช่น

    ’teapot                   ’footprint

    ’postof.fice             ’news.pa.per

    คำประสมที่มี นามอยู่ท้าย จะ stress ที่นามนั้น เช่น

    first‘class               down’stairs

    คำประสมที่มี กริยาลงท้าย จะ stress ที่กริยานั้น เช่น

    over’look                under’stand

    คำสรรพนามประเภท reflexive pronoun จะ stress ที่คำว่า self ค่ะ เช่น

    him’self                  my’self

    คำประสมที่เป็นกริยาประเภท two-word verb จะต้องเน้นหนักที่พยางค์ที่สอง หรือที่เป็นคำกริยาวิเศษณ์หรือคำบุพบท เช่น

    get‘up          put ‘on         take ‘over

    แต่ถ้าเป็นกริยาประเภท three-word-verb จะเน้นหนักที่พยางค์ที่สอง เช่น

    run‘outof                take ‘care of

    นี่เป็นเพียงส่วนหนึ่งเท่านั้น แต่ถ้าให้แน่ใจจริงๆ ว่า stress ที่คำไหนให้เปิดพจนานุกรมดูเพราะจะมีบอกทุกคำว่าจะต้องลงเสียงหนักที่คำไหน

    Share
    .