เทคนิคการจำและเรียนรู้ภาษาสำหรับผู้ที่ต้องการเริ่มต้น

    1359

    การเรียนรู้สิ่งใดสิ่งหนึ่ง สิ่งแรกที่ต้องมีคือความตั้งใจเมื่อเราได้ตั้งใจอะไรสักอย่างแล้ว เรามักจะเปิดใจให้กับมันยิ่งขึ้นเพราะไม่ใช่การฝืนบังคับ การเรียนรู้ภาษาอังกฤษก็เช่นกัน ไม่จำเป็นต้องเป็นแค่ภาษาอังกฤษเท่านั้น หากใครกำลังเรียนรู้ภาษาใหม่ๆ เพื่อเปิดโลกให้กว้างมากขึ้นนั้น ลองเอาเทคนิคที่ทาง Engnow แชร์ไปปรับใช้กันนะ และทุกอย่างต้องใช้เวลา เพื่อนๆ อย่ายอมแพ้นะ เริ่มต้นตอนนี้ยังไม่สายเกินไป!

    Gamification : เป็นกระบวนการที่ทำให้การเรียนรู้เหมือนกับการเล่นเกม

    .

    การเรียนภาษานั้นโดยปกติทั่วไปมักจะเรียนผ่านหนังสือ หรือสื่อที่ไม่มีการโต้ตอบใด ๆ เหมือนเป็นการเรียนรู้ทางเดียว ซึ่งไม่มีประสิทธิภาพมากเท่าไรนัก ดังนั้นควรหาสื่อหรือวิธีการเรียนรู้ที่สามารถโต้ตอบได้และสร้างความสนุกสนานได้เหมือนกับการเล่นเกม เพราะจะช่วยให้ผู้เรียนมีความกระตือรือร้นอยากจะเรียนรู้ และไม่น่าเบื่อ และทำให้สามารถจำและเข้าใจสิ่งนั้น ๆ ได้ดีมากยิ่งขึ้น

    Social Learning: การเรียนรู้ทางสังคม

    ภายในสังคมนั้น มีผู้คนอยู่มากมาย และต่างคนต่างมีประสบการณ์และความเชี่ยวชาญทางภาษาที่แตกต่างกันออกไป ซึ่งหากเราสามารถถ่ายทอดสิ่งที่เรารู้ให้คนอื่นเข้าใจได้ และคนอื่นก็สามารถถ่ายทอดสิ่งที่เขารู้ให้เราเข้าใจได้ มันจะส่งผลให้การเรียนรู้นั้นมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เหมือนเป็นการหาคู่หูสำหรับการเรียน นอกจากจะได้ความรู้แล้วยังไม่เหงาอีกด้วย

    Immersion : การเข้าไปอยู่ในสถานที่ที่เป็น native

    เป็นการเข้าไปในประเทศที่เราต้องเรียนรู้ภาษาของเขา เพราะเหมือนเป็นการได้เข้าไปเจอประสบการณ์จริง พบเจอผู้คนที่เป็นคนพื้นเมืองนั้นจริง ๆ ทำให้ได้รู้บริบทต่าง ๆ และลักษณะของภาษานั้น ๆ ได้ดียิ่งขึ้น นอกจากนั้นยังได้นำความรู้ที่ได้เรียนมาก่อนหน้า มาฝึกฝนในสถานที่จริง ๆ การเรียนรู้รูปแบบนี้รับรองว่าดีกว่าการเรียนในตำราอย่างแน่นอน

    Entertainment : การเรียนรู้ผ่านสื่อต่าง ๆ

    การเรียนรู้ผ่านสื่อต่าง ๆ เช่น ภาพยนตร์ ละคร เพลง เกม เป็นต้น สิ่งเหล่านี้นอกจากจะช่วยให้เราเพลิดเพลินตอนกำลังดู ฟังหรือเล่นแล้ว ยังสามารถทำให้เราได้เรียนภาษาด้วยไปในตัว เพียงหาประเภทสื่อที่เราชอบนำมาปรับใช้กับการเรียนรู้ภาษา เพียงเท่านี้ก็จะทำให้เราสามารถเรียนรู้ได้ดียิ่งขึ้น และจำแม่นมากกว่าเดิม

    Repetition : การทำซ้ำ ๆ

    การเรียนรู้อะไรซ้ำๆ จะทำให้เราสามารถเรียนรู้สิ่งนั้นได้ดียิ่งขึ้น เพราะเหมือนเป็นการย้ำคิดย้ำทำ จนสุดท้ายจำและเข้าใจได้เอง ตัวอย่างเช่น การที่ผู้ปกครองได้นำการ์ดคำศัพท์ มาเปิดให้ลูกดูและท่องซ้ำๆ  ในช่วงอายุ 1-3 ปี จนในที่สุดลูกสามารถจำได้เอง โดยไม่ต้องบอก

    Mnemonic Devices: อุปกรณ์ในการช่วยจำ

    อุปกรณ์หรือเครื่องมือที่ช่วยในการจำนั้นมีมากมาย เช่น เพลงคำศัพท์ การ์ดคำศัพท์ storylines เป็นต้น ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะช่วยเพิ่มความสามารถในการจำคำศัพท์ได้ดียิ่งขึ้นกว่าเดิม ซึ่งการเลือกใช้นั้นจะขึ้นอยู่กับความถนัดของแต่ละคนว่าชอบรูปแบบไหน

    Share
    .