คำนามในรูปแบบพิเศษ ที่เรามักเจอกันบ่อยๆ คำนามเหล่านี้อาจจะทำให้เราสับสนและใช้ผิดหลักการได้ หากเราไม่ศึกษาให้ดี เรามีเทคนิคดีมาฝากกันเช่นเคยเกี่ยวกับหลักการดูคำนาม และรูปแบบที่มักจะเจอบ่อยๆ ในข้อสอบ TOEIC หรือข้อสอบทั่วไป
- Special nounคำนามที่ลงท้ายด้วย (-ic) + s เสมอ เช่น
- mathematics คณิตศาสตร์
- linguistics ภาษาศาสตร์
- economics เศรษฐศาสตร์
2. คำนามที่มีรูปเป็น Plural form เสมอ แต่เป็นได้ทั้ง Singular noun และ Plural noun เช่น
Species, series, gallows
3. คำนามที่มีรูปเป็น Plural form เสมอ และเป็น Plural noun ด้วย เช่น
- trousers กางเกงขายาว
- pants กางเกงขาสั้น (หญิง)
- shorts กางเกงขาสั้น
- scissors กรรไกร
- spectacles แว่นตา
- glasses แว่นตา
4. คำนามที่ไม่มีรูป Plural form (uncountable nouns) เช่น
- advice คำแนะนำ
- information คำแนะนำ
- thunder ฟ้าผ่า
- lightening ฟ้าแลบ
- clothing เสื้อผ้า
- baggage สัมภาระ
- luggage สัมภาระ
- machinery เครื่องจักร
- work งาน
- money เงิน
- alcohol แอลกอฮอล์
- knowlage ความรู้
- music ดนตรี
5. คำนามที่อยู่ในรูป singular form เสมอ เช่น
- deer กวาง
- sheep แกะ
- salmon, cod, trout ชื่อปลา
- grouse ไก่ป่า
6. Collective noun (สมุหนาม) เป็นคำนามที่อยู่รวมกันเป็นกลุ่ม หมู้หรือเป็นคณะ ของคน สัตว์ สิ่งของ สถานที่ ซึ่งอยู่ในรูป Collective noun + of + Common noun เช่น
- a group of students : นักเรียนกลุ่มหนึ่ง
- a flock of sheep : แกะฝูงหนึ่ง
- a range of mountains : ภูเขาเทือกหนึ่ง
- a bouquet of roses : ดอกกุหลาบช่อหนึ่ง
- A crowd of people : คนกลุ่มหนึ่ง
Collective noun สามารถใช้กับ กริยา (verb) เอกพจน์หรือพหูพจน์ก็ได้ ขึ้นอยู่กับความหมายที่ต้องการสื่อสาร ซึ่งถ้าหากต้องการเน้นความหมายของกลุ่ม กลุ่มเดียว ก็ใช้กริยาเอกพจน์ แต่ถ้าต้องการให้ความหมาย โดยหมายถึงจำนวนหลายๆ คน หลายๆ สิ่ง แบบแยกแยะเป็นรายๆ ไป ก็ใช้กริยาพหูพจน์ เช่น
Our team is a good one in the match.
ทีมของเราเป็นทีมที่ยอดเยี่ยมที่สุดในการแข่งขันนี้ = พูดถึงทีมทั้งทีม ความหมายเป็นเอกพจน์
Our team are drinking water in the field
สมาชิกทีมของเรากำลังดื่นน้ำอยู่ที่สนาม = สมาชิกในทีมมีหลายคน บางคนกำลังกินน้ำอยู่ที่สนาม
A new family have moved in next door.
ครอบครัวใหม่ย้ายมาข้างบ้าน = ความหมายแบบพหูพจน์ ผู้พูดมองว่า family คือ คนหลายคน
A new family has moved in next door.
ครอบครัวใหม่ย้ายมาข้างบ้าน = ความหมายแบบเอกพจน์ ผู้พูดมองว่าครอบครัวเป็นกลุ่มคนกลุ่มเดียว
นอกจากนี้ การเขียนโดยใช้ of คั่นระหว่างหมวดหมู่กับคำนามแล้ว คำศัพท์บางคำยังมีความหมายว่าเป็นกลุ่ม หรือเป็นหมู่คณะอยู่แล้ว เช่น
- family ครอบครัว
- team ทีม
- jury คณะลูกขุน
- party พรรค/คณะ
- mob หมู่คน
- class ชนิด ชั้น
- government คณะรัฐบาล
ได้อ่านรูปแบบคำนามแบบพิเศษกันไปแล้ว หลายคนคุ้นเคยเพราะเห็นผ่านตากันบ่อยๆ แต่ไม่รู้ว่านี่คือคำนามประเภทไหนกันแน่ เอาล่ะ อ่านบทความนี้ไปเรียบร้อยแล้ว หากได้เห็นคำนามในข้อสอบหรือบทความอีกหวังว่าเพื่อนๆ จะแยกประเภทของคำนามกันได้นะ