Adjective หรือคำคุณศัพท์ คือคำที่ทำหน้าที่ขยายคำนาม ปกติก็จะวางไว้หลัง verb to be หรือ linking verb หรือวางไว้หลังคำนาม แต่กฎทุกกฎก็ย่อมมีข้อยกเว้น (อีกแล้ว) เพราะคำคุณศัพท์บางคำไม่สามารถวางไว้หน้าคำนามได้ แต่จะตามหลัง verb to be หรือ linking verb แทน คำในกลุ่มนี้มีอะไรบ้างมาดูกัน
คำคุณศัพท์ที่มักขึ้นต้นด้วยตัวอักษร a เช่น
- ablaze (ไหม้)
- aflame (ที่ลุกไหม้)
- afloat (ลอย)
- afraid (กลัว)
- alight (ที่กำลังลุกโชน เต็มไปด้วยพลัง)
- alike (เหมือน)
- alive (มีชีวิต)
- alone (โดยลำพัง)
- aloof (ที่อยู่ไกล)
- ashamed (น่าอับอาย ละอายใจ)
- askew (เฉ เอียงไปข้าง)
- asleep (นอนหลับ)
- awake (ตื่น)
- aware (ตระหนักรู้)
ตัวอย่างประโยค
X : They are alike siblings.
√ : They are alike. / They look alike.
X : Don’t disturb those asleep children.
√ : The children are asleep.
X : Don’t go into the aflame house.
√ : The house was aflame.
นอกจากนี้คำคุณศัพท์บางคำที่บ่งบอกถึงสภาวะสุขภาพ หรือบ่งบอกความรู้สึกก็วางไว้หน้าคำนามไม่ได้ เช่น
บอกความรู้สึก :
- content (พอใจ)
- glad (ดีใจ)
- pleased (ยินดี)
- ready (พร้อม)
- sorry (เสียใจ)
- upset (โกรธ เสียใจ)
บอกสภาวะสุขภาพ :
- ill (ป่วย)
- well (ดี)
- unwell (ไม่ดี)
- poorly (สุขภาพแย่)
- fine (สบายดี)
ตัวอย่างประโยค
X : There are a lot of ill children in our room.
√ : There are a lot of children who are ill.
X : He is a sorry man.
√ : He feels really sorry.
อย่างที่บอกไว้คือ กฎทุกกฎย่อมมีข้อยกเว้น แล้วสิ่งที่ผู้เรียนภาษาทำได้คือสร้างความคุ้นเคยหรือเคยชินกับภาษา เพราะภาษาไม่ใช่เรื่องของการแทนค่าแล้วได้ผลลัพธ์เหมือนสูตรคณิต เนื่องจากมันมีข้อยกเว้นให้ต้องจำอยู่บ่อยๆ