Parallel Structure “โครงสร้างคู่ขนาน” คืออะไร + หลักการใช้งานในภาษาอังกฤษ

16192

Parallel Structure คือ โครงสร้างคู่ขนาน เป็นการเขียนโดยกำหนดให้องค์ประกอบในประโยคมีไวยากรณ์ไปในทิศทางเดียวกัน มีหน้าที่เดียวกัน เพื่อให้ข้อความในประโยคต่อเนื่อง และทำให้ผู้อ่านติดตามเรื่อง และเข้าใจแนวคิดของผู้เขียนได้อย่างชัดเจน ซึ่งเหมาะสำหรับนักเขียน หรือ ในการเขียน Essay ให้มีความกระชับและได้ใจความซึ่งการเขียนโดยใช้โครงสร้างคู่ขนานมักใช้ได้ในระดับคำ คือเป็นคำเดียวโดดๆ หรือใช้ในระดับกลุ่มคำวลี คืออนุประโยค โดยมีคำสันธานดังต่อไปนี้เป็นตัวเชื่อม

  • … and / or / but / than / as well as …
  • both … and …
  • either … or …
  • neither … nor …
  • not only … but also …

ลองอ่านและเปรียบเทียบประโยคต่อไปนี้

.
  • She likes swimming , gardening and to cook.
  • She likes swimming , gardening and cooking.

จะเห็นได้ว่า คำที่เป็นตัวทึบดำในประโยคที่ 1 นั้นมีโครงสร้างทางภาษาต่างกัน ส่วนในประโยคที่ 2 คำที่เป็นตัวดำทั้งหมดมีโครงสร้างทางภาษาเดียวกัน ( คือทุกคำอยู่ในรูปของ V-ing ) เมื่อเปรียบเทียบแล้วประโยคที่ 2 จะถูกต้อง ชัดเจนและ อ่านง่ายกว่า เราเรียกลักษณะโครงสร้างเช่นนี้ว่า Parallel structure

Parallel structure อาจประกอบด้วยวลี (phrase) หรืออนุประโยค (clause) 2 วลี/อนุประโยค หรือมากกว่า และจะต้องมีโครงสร้างทางภาษาเดียวกัน ดูตัวอย่างประโยค เพิ่มเติมต่อไปนี้ และเปรียบเทียบเพื่อความเข้าใจดียิ่งขึ้น

Non-parallel structure 

  • Somkid is cheerful , friendly and has a sense of humour.
    • ( สมคิดเป็นคนมองโลกในแง่ดี เป็นมิตร และมีอารมณ์ขัน )
  • He doesn’t know where to stay and what he has to do next.
    • ( เขาไม่รู้ว่าจะพักที่ไหนและทำอะไรต่อจากนี้ )
  • If you are interested, write for more information or you can visit our website.
    • ( ถ้าคุณรู้สึกสนใจ สามารถเขียนข้อมูลเพิ่มเติม หรือ สามารถมาเยี่ยมชมในเว็ปไซต์ได้ )

Parallel structure

  • Somkid is cheerful,friendly and humorous.
    • คำทุกคำที่เป็นตัวดำเอนเป็น adjective
  • He doesn’t know where to stay and what to do next.
    • ข้อความที่เป็นตัวดำเอนเป็นวลีที่ขึ้นต้นด้วย wh_ และมีโครงสร้างทางไวยากรณ์เหมือนกัน )
  • If you are interested,write for more information or visit our website.
    • ( ข้อความที่เป็นตัวดำเอนเป็นประโยคที่มีคำกริยาอยู่ในรูป imperative form คือ write และ visit )

ข้อสังเกต ในการทำข้อสอบประเภทที่ให้ระบุความผิดทางไวยากรณ์ ( error identification ) ผู้สอบควรหาคำเชื่อม เช่น and หรือ or ให้พบ และพิจารณาว่าคำ/วลีที่ปรากฎก่อนหรือหลังคำเชื่อมนั้นๆ มีโครงสร้างทางภาษาเหมือนกันหรือไม่

เรื่องของ Grammar ที่เพื่อนๆ หลายคนมักพลาดในการทำข้อสอบ เทคนิคง่ายๆ จาก Engnow จะทำให้เพื่อนๆ ท่องจำหลักสำคัญในการใช้ ข้อสังเกต เพื่อเอาไปทำข้อสอบได้อย่างแม่นยำ อย่าลืมติดตามบทความดีอื่นๆ อีกมากมายได้ที่นี่

Share
.